การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการซิปปา โมเดลในรายวิชาปฏิบัติการการนวดไทย 1 สำหรับนักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ แพะขุนทด ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • กาญจนา นิ่มสุนทร ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, ปฏิบัติการการนวดไทย, กระบวนการซิปปา, ทักษะการปฏิบัติการนวดไทย

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D)  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการการนวดไทย 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยเน้นกระบวนการ CIPPA MODEL 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้ทฤษฎี CIPPA Model 4) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการสนทนากลุ่ม 2) แบบประเมินการจัดการเรียนการสอน 3) แบบประเมินผลทักษะการปฏิบัติการนวดไทย 4) ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ  5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอน นักศึกษามีทักษะการนวดแรงกดจุดไม่แม่นยำ อธิบายทฤษฎีในการนวดไทยกับกายวิภาคศาสตร์ได้น้อย เพิ่มเวลาในการฝึกปฏิบัติ ประยุกต์สื่อการสอนการปฏิบัติโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  2) รูปแบบการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการการนวดไทย 1 โดยใช้ CIPPA Model มี 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ทบทวนความรู้เดิม 2. การแสวงหาความรู้ใหม่ 3. ทำความเข้าใจข้อมูล  4. แลกเปลี่ยนความรู้กายวิภาคศาสตร์กับจุดแนวเส้นในการนวด 5. สรุปผลจัดการความรู้ 6. การแบ่งปันความรู้ โดยลงมือปฏิบัตินวดแนวเส้นพื้นฐาน บันทึกวิดีโอ อัพโหลดลง YouTube 7. ประยุกต์ใช้ความรู้ โดยฝึกทักษะการนวดแนวเส้นพื้นฐาน จับคู่นักศึกษากับอาจารย์พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม 3) ประสิทธิผลการเรียนรู้นักศึกษามีทักษะการปฏิบัติการการนวดไทย 1 มีทักษะผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป มีจำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 94   4) ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (M = 18.93)  5) ความพึงพอใจต่อรูปแบบ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 18.93)

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

เกวลี ผังดี. (2556). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาสถิติ. ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต, สาขาวิชาสถิติ, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี, เฉลิมชัย พันธ์เลิศ และภาษิต ประมวลศิลป์ชัย. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ทิศนา แขมมณี. (2555). องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม ฯ โรงเรียนอายุรเวท. (2548). หัตถเวชกรรมแผนไทย (นวดแบบราชสำนัก). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์จำกัด.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ และโรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวด ไทยแบบราชสำนัก) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 การนวดพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ศุภวนิชการพิมพ์. .

วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. นครปฐม: ส เจริญ การพิมพ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2552). รายงานการสังเคราะห์ผลการวิจัยปฏิรูปการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน เวียดนาม และไทย (เอกสารอัดสำเนา).

วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. (2560). ทะเบียนและวัดประเมินผล. นนทบุรี: ฝ่ายงานทะเบียนและวัดประเมินผล.

สรายุทธ กันหลง. (1 พฤศจิกายน 2560). ความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC : Index of Item Objective Congruence). สืบค้นจาก www.ipernity.com: www.ipernity.com

สุคนธ์ สินธพานนท์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, จินตนา วีรเกียรติสุนทร และพิวัสสา นภารัตน์. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อการ พัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม. วารสารวิทยบริการ, 18(1), 100-108.

องอาจ นัยพัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-28