ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • แจ่มจันทร์ เทศสิงห์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
  • ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • สาคร อินโท่โล่ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ข้อเข่าเสื่อม, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยเสี่ยง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความชุกของภาวะข้อเข่าเสื่อมและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,609 คน จาก 8 ชุมชน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุขั้นตอน 

        ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 30.88 (95% CI 28.54 - 33.30) และปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (OR = 2.12, 95% CI 1.51 - 2.98, p-value<0.001) ความเสี่ยงต่อการรู้คิดบกพร่อง (OR = 3.97, 95% CI 3.04 - 5.20, p-value<0.001), อาการปวดเข่า (OR = 15.32, 95% CI 11.63-20.19, p-value<0.001) และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (OR = 4.76, 95% CI 2.16 - 10.52, p-value< 0.001) ส่วนความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม (OR = 0.60, 95% CI 0.45 - 0.80, p-value = 0.001) เป็นปัจจัยป้องกัน ดังนั้น ผู้ให้บริการสุขภาพจึงควรจัดทำโปรแกรมการป้องกันภาวะข้อเข่าเสื่อมโดยคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว

References

จันทร์จิรา เกิดวัน, จิราภรณ์ บุญอินทร์, ชุติมา ธีระสมบัติ และวิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. (2559). การสำรวจความชุกของโรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารกายภาพบำบัด, 38(2), 59-70.

นงพิมล นิมิตรอานันท์. (2557). สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในคนไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 185-194.

พัทธนันท์ คงทอง. (2560). ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 9(18), 120-128.

สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ณัฐสิทธิ์ สองเมือง และวนิดา สุขรัตน์. (2563). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(1), 227-239.

สมาคมรูมาติซั่มแห่งประเทศไทย. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee) สืบค้นจาก http://www.thairheumatology.org/wp-content/uploads/2016/08/Guideline-for-Management-of-OA-knee.pdf

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2542). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ธีระ ศิริสมุด, แก้วกุล ตันติพิสิฐกุล, ลี่ลี อิงศรีสว่าง และยศ ตีระวัฒนานนท์. (2557). โครงการสํารวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี พ.ศ. 2556 ภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. สืบค้นจาก http://www.ucbp.net/wp-content/uploads/2014/09/การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย.pdf

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา

Blagojevic, M., Jinks, C., Jeffery, A., & Jordan, K. P. (2010). Risk factors for onset of osteoarthritis of the knee in older adults: a systematic review and meta-analysis. Osteoarthritis and Cartilage, 18(1), 24-33.

doi:https://doi.org/10.1016/j.joca.2009.08.010

Cross, M., Smith, E., Hoy, D., Nolte, S., Ackerman, I., Fransen, M., March, L. (2014). The global burden of hip and knee osteoarthritis: estimates from the Global Burden of Disease 2010 study. Annals of the Rheumatic Diseases, 73(7), 1323.

Dahaghin, S., Tehrani-Banihasshemi, S. A., Faezi, S. T., Jamshidi, A. R., & Davatchi, F. (2009). Squatting, sitting on the floor, or cycling: are life-long daily activities risk factors for clinacal knee osteoarthritis? Stage III results of a community-based study. Arthritis Rheum, 61(10), 1337-1342. doi i: 10.1002/art.24737.

Kojima, N., Kim, M., Saito, K., Yoshida, Y., Hirano, H., Obuchi, S., Kim, H. (2017). Predictors of self-reported knee osteoarthritis in community-dwelling older women in Japan: A cross-sectional and longitudinal cohort study. Archives of Gerontology and Geriatrics, 73, 125-132. doi:https://doi.org/10.1016/j.archger.2017.07.005

Kulthanan, T., Kaewpornsawan, K., Thanapipatsiri, S., Lamsam, C., Asavamongkolkul, A., & Vamvanij, V., et al. (2006). Medical utilization review using indicators with ORTHOPAEDICS in Orthopaedic inpatients under universal coverage policy admitted to Siriraj Hospital. Siriraj Meical Journal, 58(3), 720-724.

Kuralay, C., & Kiyak, E. (2018). Sleep quality and factors affecting patients with knee osteoarthritis. International Journal of Caring Sciences, 11(2), 1141-1146.

Leijon, A., Ley, C. J., Corin, A., & Ley, C. (2017). Cartilage lesions in feline stifle joints – Associations with articular mineralizations and implications for osteoarthritis. Research in Veterinary Science, 114, 186-193. doi:https://doi.org/10.1016/j.rvsc.2017.04.008

Litwic, A., Edwards, M. H., Dennison, E. M., & Cooper, C. (2013). Epidemiology and burden of osteoarthritis. British medical bulletin, 105, 185-199. doi:10.1093/bmb/lds038

Loeser, R. F., Goldring, S. R., Scanzello, C. R., & Goldring, M. B. (2012). Osteoarthritis: A disease of the joint as an organ. Arthritis & Rheumatism 64(4), 1697–1707.

Losina, E., Paltiel, A. D., Weinstein, A. M., Yelin, E., Hunter, D. J., Chen, S. P., . . . Katz, J. N. (2015). Lifetime medical costs of knee osteoarthritis management in the United States: impact of extending indications for total knee arthroplasty. Arthritis care & research, 67(2), 203-215. doi:10.1002/acr.22412

Losina, E., Weinstein, A. M., Reichmann, W. M., Burbine, S. A., Solomon, D. H., Daigle, M. E., . . . Katz, J. N. (2013). Lifetime risk and age at diagnosis of symptomatic knee osteoarthritis in the US. Arthritis Care Res (Hoboken), 65(5), 703-711.

Mahoney, F. I., & Barthel, D. W. (1965) Functional evaluation the barthel Index. Maryland State Medical Journal, 14, 61-65.

McAlindon, T. E., Bannuru, R. R., Sullivan, M. C., Arden, N. K., Berenbaum, F., Bierma-Zeinstra, S. M., . . . Underwood, M. (2014). OARSI guidelines for the non-surgical management of knee osteoarthritis. Osteoarthritis and Cartilage, 22(3), 363-388. doi:10.1016/j.joca.2014.01.003

Munoz, V. M., Van Kan, G. A., Cantet, C., Cortes, F., Ousset, P. J., Rolland, Y., et al. (2010). Gait and balance impairments in alzheimer disease patients. Alzheimer Disease & Associated Disorders, 24(1), 79-84.

Naoto, F., Hirotaka, I., Takahiko, F., Daisuke, U., Eishi, K., Kazuo, O., . . . Shuichi, M. (2016). Association of varus thrust with pain and stiffness and activities of daily living in patients with medial knee osteoarthritis. Physical Therapy, 96(2), 167-175. doi:10.2522/ptj.20140441

Palazzo, C., Nguyen, C., Lefevre-Colau, M.-M., Rannou, F., & Poiraudeau, S. (2016). Risk factors and burden of osteoarthritis. Annals of Physical and Rehabilitation Medicine, 59(3), 134-138. doi:https://doi.org/10.1016/j.rehab.2016.01.006

Silverwood, V., Blagojevic-Bucknall, M., Jinks, C., Jordan, J. L., Protheroe, J., & Jordan, K. P. (2015). Current evidence on risk factors for knee osteoarthritis in older adults: a systematic review and meta-analysis. Osteoarthritis and Cartilage, 23(4), 507-515. doi:https://doi.org/10.1016/j.joca.2014.11.019

Wallace, I. J., Worthington, S., Felson, D.T., Jurmain, R. D., Wren, K. T., Maijanen, H., . . . Lieberman, D. E. (2017). Knee osteoarthritis hasdoubled in prevalence since mid-20th century. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America (PNAS), 114(35), 1-5.

Wise, B. L., Niu, J., Zhang, Y., Felson, D. T., Bradley, L. A., Segal, N., . . . Lane, N. E. (2013). The association of parity with osteoarthritis and knee replacement in the multicenter osteoarthritis study. Osteoarthritis & Cartilage, 21(12), 1849-1854. doi:10.1016/j.joca.2013.08.025

Zhang, Y., & Jordan, J. M. (2010). Epidemiology of osteoarthritis. Clinics in geriatric medicine, 26(3), 355-369. doi:10.1016/j.cger.2010.03.001

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29