ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการบริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สุณิสา สำเร็จดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ศรินยา พลสิงห์ชาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • กิตติยา อาษากิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้, คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพของการให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบริการห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) ด้านการบริการด้านกายภาพต่อการจัดการเรียนการสอน และ 3) ด้านการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วย บริการงานทะเบียน บริการอนามัยและการรักษาพยาบาล บริการด้านอาหาร บริการสถานที่สำหรับออกกำลังกาย บริการหอพัก และบริการด้านระบบสาธารณูปโภคและการรักษาความปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 – 4  ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2558 จำนวน 314 คน ที่มาใช้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ที่วิทยาลัยฯ จัดให้บริการ ระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อคุณภาพของการให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.58, S.D. = 0.34) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการบริการห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ผ่านระบบเครือข่าย รองลงมาคือ ด้านการบริการด้านกายภาพต่อการจัดการเรียนการสอน และมีความพึงพอใจน้อยที่สุดในด้านการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่นๆ ซึ่งผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของการให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่วิทยาลัยฯ จัดให้บริการ และเป็นข้อมูลในการนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดบริการอินเทอร์เน็ตให้มีความครอบคลุมในการใช้งาน การจัดเพิ่มที่นั่งรับประทานอาหาร การจัดระบบการดูแลบำรุงรักษาเครื่องทำน้ำเย็น การจัดเตรียมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ในห้องเรียนให้พร้อมใช้ และจัดสรรอุปกรณ์การฝึกปฏิบัติการพยาบาลให้เพียงพอเอื้อต่อการเรียนการสอน

References

ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.หน้า 1-23.

พัชมณ ใจสะอาด. (2555). คุณภาพการบริการสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองพัฒนานักศึกษา. ฝ่ายแนะแนวการศึกษาและอาชีพ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการจัดบริการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รัตนา พรมภาพ. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2550. พิษณุโลก: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. (2558). รายงานประจำปี 2558. สุรินทร์ : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (สิงหาคม 2558). นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก.

สภาการพยาบาล. (2556). คู่มือการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์สำหรับสถาบันการศึกษาที่มีผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. นนทบุรี: สภาการพยาบาล.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อมรรัตน์ เสตสุวรรณ และอรชรศรีไทรล้วน. (2557). ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556 ต่อคุณภาพหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 21 (ฉบับพิเศษ), 59-76.

อรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์, สนธยา ศรีเมฆ และหทัยรัตน์ อร่ามศิริรุจิเวทย์. (2558). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ปีการศึกษา 2557. ราชบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.

อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 33 (ฉบับพิเศษ), 1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27