A สภาพการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์การเรียนรู้ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • บรรเลิง สีสุพรรณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ชมพูนุท สิริพรหมภัทร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ธนชัย สุขถาวร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ศูนย์การเรียนรู้, ทรัพยากรสารสนเทศ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของนักศึกษาในศูนย์การเรียนรู้ด้านวัตถุประสงค์การใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ด้านปริมาณการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ และด้านความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศ   กลุ่มตัวอย่างได้แก่  นักศึกษาที่เข้าใช้บริการศูนย์เรียนรู้  จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ดัดแปลงจาก (ศิริพร เรืองสินชัยวานิช, 2546) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

      นักศึกษาใช้สื่อสิ่งพิมพ์ ประเภทตำรา (ร้อยละ 95.8) หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 86.9) วารสาร (ร้อยละ 86.2) ตามลำดับ ส่วนสื่อไม่ตีพิมพ์ ได้แก่ การใช้สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 93.1) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) การใช้เพื่อติดตามข่าวสารและเพิ่มพูนความรู้โดยใช้หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 74.2) วารสาร (ร้อยละ 57.3) และใช้สื่อไม่ตีพิมพ์ ได้แก่ สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ66.2) 2) การใช้เพื่อทำการวิจัยโดยใช้รายงานการวิจัย (ร้อยละ 55.4) และสื่อไม่ตีพิมพ์ ได้แก่ ใช้ฐานข้อมูลวิจัย ThaiLIS (ร้อยละ 47.3) 3 ) การใช้เพื่อการบริการทางวิชาการ โดยใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เพียงส่วนน้อย

     ด้านปริมาณการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ มีดังนี้  นักศึกษาใช้สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อไม่ตีพิมพ์ ในระดับปานกลาง  และด้านความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ ส่วนใหญ่ใช้หนังสือพิมพ์ (ร้อยละ 51.9) ปีพิมพ์ปัจจุบัน และให้ตำราภาษาไทยที่มีปีพิมพ์ไม่เกิน 3 ปี, 5ปี และ ปีพิมพ์เกิน 5 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 28.8, 30.4, 15.8)  และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อความทันสมัยของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทในสาขาวิชาที่มีในศูนย์การเรียนรู้ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อไม่ตีพิมพ์สารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต ในระดับปานกลาง

    ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ได้แก่ ศึกษาความสอดคล้องในเนื้อหาของหนังสือในศูนย์การเรียนรู้กับหลักสูตรที่เปิดสอนของวิทยาลัย และศึกษาปัญหาความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

 

References

ธัญญรัตน์ ธิชัย. (2543). ความต้องการและการใช้สารนิเทศของอาจารย์คณะพยาบาบศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นายิกา เมฆจรัสกุล. (2538). รายงานการวิจัยเรื่องความต้องการบริการห้องสมุดคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ของนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : งานห้องสมุด.

บงกช ศิริวัฒนมงคล. (25 ธันวาคม 2545). สัมภาษณ์. บรรณารักษ์ ห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กับการประกันคุณภาพการศึกษา)

ศิริพร เรืองสินชัยวานิช. (2546). การใช้ทรัพยากรสารสนเทศของอาจารย์และนักศึกษาในห้องสมุด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เหลาทอง สิริยะ. (2543). การใช้สารนิเทศของอาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Evans, G. Edward. (1987).Developing Library and Information Center Collection. (2nd ed.) Colorado : Libraries Unlimited.

Grogan, Denis. (1976). Science and technology : an Introduction to the Literature.(3rd ed.). Linnet Book, Hamden, Conn. Quoted in Chen, Ching Chih. (1976). Scienctific and Technical Library in Kent, Allen, Lancour< Harold & Daily, Jay E. (Eds.) Encyclopedia of Library and Information Science.Vol.26 (pp.1 -86). New York : Marcel Dekker.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27