ผลการสอนแบบมีแบบแผนต่อการรับรู้ของมารดาหลังคลอดในการดูแลทารก

ผู้แต่ง

  • จันทร์ธิดา สมานมิตร โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การรับรู้ต่อการดูแลทารก, การสอนอย่างมีแบบแผน, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของมารดาหลังคลอดในการดูแลทารก  กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด จำนวน 60 ราย การสุ่มแบบอย่างง่ายโดยการจับฉลากแบบไม่คืนที่เป็น 2 กลุ่มคือ มารดาวัยรุ่น และมารดาผู้ใหญ่ กลุ่มละจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการรับรู้ในการดูแลทารกซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธี ครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2558 – วันที่ 31 มกราคม 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t test 

         ผลการวิจัยพบว่า มารดาวัยรุ่นหลังคลอดมีการรับรู้อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 10 และระดับสูง  ร้อยละ 90 มารดาหลังคลอดวัยผู้ใหญ่มีการรับรู้ในระดับปานกลางร้อยละ 6.7 และระดับสูงร้อยละ 93.3 เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ต่อการดูแลทารกหลังการสอนระหว่างมารดาวัยรุ่นและมารดาวัยผู้ใหญ่หลังคลอด พบว่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

        จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าควรมีการให้ความรู้และเน้นในเรื่องเกี่ยวกับน้ำนมที่มีลักษณะสีเหลืองควรให้ทารกดูดให้มากที่สุดเพราะมีสารภูมิคุ้มกันโรคในปริมาณสูง และมารดาควรปลุกหรือกระตุ้นให้ทารกดูดนมทุก 2 ชั่วโมง ทั้งมารดาวัยรุ่น และมารดาวัยผู้ใหญ่หลังคลอด และควรมีการส่งต่อข้อมูลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และอสม. ให้การติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของมารดาหลังคลอดให้มีการดูแลบุตรที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิภาพ

References

งามนิตย์ รัตนากุล. (2555). การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี.

ณัฐนิชา ศรีละมัย. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประทุม ยนต์เจริญล้ำ. (2552). พฤติกรรมการเลี้ยงดูและภาวะสุขภาพเด็กที่คลอดจากมารดาที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี. ศูนย์อนามัยที่ 9 พิษณุโลก กระทรวงสาธารณสุข.

ภาริดา ตันตระกูล. (2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะตนเองของมารดาครรภ์แรกในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

มลิวัลย์ ชาญชัยวีระพันธุ์. (2556). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการเลี้ยงบุตรด้วยมารดาของมารดาวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนคณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริขวัญ พรหมจำปา. (2551). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วันเพ็ญ พุ่มเกตุ. 2551. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง โดยสอนแนะต่อพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมาดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-27