ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
วัยรุ่น, แบบจำลองการวางแผนเพื่อสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กรอบแนวคิดแบบจำลองการวางแผนเพื่อสุขภาพ (PRECED-PROCEED Model) กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 213 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับปัจจัยนำ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัจจัยเอื้อ ได้แก่การเข้าถึงสื่อสนับสนุนการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และปัจจัยเสริม ได้แก่ การสื่อสารภายในครอบครัวและกลุ่มเพื่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001, p<.001, p<.001, p<.001 ตามลำดับ) ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาโปรแกรมในการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเข้าถึงสื่อ การสื่อสารกับบุคคลในครอบครัวและกลุ่มรวมเพื่อน รวมถึงการรับรู้โอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นต่อไป
References
บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์. (2546). การศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของเด็กนักเรียนหญิงหลังฟังบรรยายแบบมีส่วนร่วมเรื่อง เพศศึกษา. สืบค้นจาก http://www.sirirajmedj.com/content.php
เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (ม.ป.ป.). แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ (Health Belief model). (เว็บบล็อก). สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/115420
ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง และอารีรัตน์ จันทร์ลำภู. (บรรณาธิการ). (2557). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปุญชรัสมิ์ ศิริทรัพย์. (2555). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตนครชัยบุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 5, 6(13), 8-25.
พรทิพย์ มีชัย, ชไมพร บุญร่วม, พรเพชร สิมพา, ณัฐณิชา แดงสกุล, สุรศักดิ์ ไชยสงค์ และอิสรา จุมมาลี. (2556). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินในนักเรียนนักศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ The 5th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2013 “Pharmacy Profession: Moving forward to ASEAN Harmonization” วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2556 ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นจาก http:// http://pharm.kku.ac.th/isan-journal/journal/volumn9-no1/002-Proceeding/Page60-63.pdf
มนฤดี เตชะอินทร์ และพรรณี ศิริวรรธนาภา. (2555). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (Adolescent pregnancy). สืบค้นจาก http://www.med.cmu.ac.th/dept /obgyn/2011/index.php
วัชราภรณ์ บัตรเจริญ, ปาหนัน พิชยภิญโญ และอาภาพร เผ่าวัฒนา. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนไทย ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 42(1), 29-39.
ศุทธินี ปิยะสุวรรณ์ และประภาพร มีนา. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้วิธีการแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 27(2), 47-56.
สถานการณ์การคลอดบุตรของวัยรุ่นไทย ปี 2555. (2556). [ม.ป.ท.] : สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สำนักอนามัยและเจริญพันธุ์. (2558). Fact Sheet วัยรุ่น....วัยเรียนกับอนามัยเจริญพันธ์. สืบค้นจาก http://rh.anamai.moph.go.th/download/pdf/FactSheet-%20Ok.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น