การอธิบายความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการแสวงหาการดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การอธิบายความเจ็บปวดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาการอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มาใช้บริการจากคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้กรอบแนวคิดการอธิบายเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของไคลแมนและแนวคิดเกี่ยวกับการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นแนวทางในการวิจัย เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 29 ราย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุอธิบายความเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานว่าเริ่มจากการสังเกตอาการ ค้นหาสาเหตุ วินิจฉัยปัญหา ประเมินความรุนแรงของอาการและแสวงหาการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย ผู้สูงอายุรับรู้ว่าโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หาย แต่ควบคุมอาการได้ สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารจุและอาหารหวาน ความอ้วน และพันธุกรรม สิ่งที่กังวลใจมากที่สุดเมื่อเป็นเบาหวาน คือ เป็นแผลแล้วหายยาก การถูกตัดขา ตามัวหรือตาบอดจากเบาหวานขึ้นตา และกลัวโรคไต ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจการอธิบายความเจ็บป่วยเมื่อเป็นเบาหวานของผู้สูงอายุ และได้แนวทางในการดูแลช่วยเหลือและจัดการปัญหาความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเบาหวานได้ดีขึ้น
References
กุลฤดี จิตตยานันต์ และคณะ. (2556). ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(3),110-121.
ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ และสายพิณ สุริยวงค์. (2554). มุมมองการป่วยของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน. วารสารสภาการพยาบาล, 26(4), 96-107.
เทพ หิมะทองคำ และคณะ. (2557). ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.
นงนุช โอบะ, ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์ และสมจิตร ชัยรัตน์. (2551). ประสบการณ์ความเจ็บป่วยของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(1), 78-90.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2559). รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2 "KICK OFF TO THE GOALS". นนทบุรี : สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
Abebe, S.M., Berhane, Y., Worku, A., & Assefa, A. (2014). Diabetes mellitus in North West Ethiopia: a community based study. BMC Public Health, 14(1), 97.
Davies, M.J., Tringham, J.R., Troughton, J., & Khunti, K.K. (2004). Prevention of type 2 diabetes mellitus: a review of the evidence and its application in a UK setting. Diabet Med. 21(5), 403-414.
Habte, B.M. Kebede, T., Fenta, T.G, & Boon, H. (2016). Explanatory models of adult patients with type 2 diabetes mellitus from urban centers of central Ethiopia. BMC Res Notes, 9(441),1-11, DOI: 10.1186/s13104-016-2248-3
Kleinman, A. (1980). Patients and healers in the context of culture. An exploration of the borderland between anthropology medicine, and psychiatry. Berkley. London: University of California Press.
Krippendorff, K. (2013). Content analysis: An introduction to its methodology (3rd ed). California, CA: Sage Publications.
Ladha, et al. (2009). The Health seeking behaviour of elderly population in a poor-urban community of Karachi, Pakistan. J Pak Med Assoc, 59(2), 89-92.
Orem, D.E. (2001). Nursing: Concepts and Practice (6th ed.). St. Louis, MO: Mosby.
World Health Organization. (2016). Global report on diabetes. Genewa: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น