ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการต่อการเพิ่มความเข้มข้นเลือดในหญิงตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • ราณี ผลวัฒน์ โรงพยาบาลปราสาท

คำสำคัญ:

ภาวะเลือดจาง, โภชนาการ, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

              การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการต่อการเพิ่มความเข้มข้นเลือดในหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 20-34 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลปราสาท ทำการคัดเลือกแบบเจาะจงในหญิงตั้งครรภ์ที่มีค่าความเข้มข้นเลือดน้อยกว่า 33 % จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการ ซึ่งประกอบไปด้วยสมุดแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือดจาง  และเอกสารแนะนำ เรื่อง ภาวะเลือดจางในหญิงตั้งครรภ์และเมนูอาหารบำรุงเลือด กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ได้รับการพยาบาลในระยะตั้งครรภ์ตามมาตรฐานทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบบันทึกหลังจากเจาะตรวจหาค่าความเข้มข้นเลือดซ้ำ ใช้สถิติ Mann-Whitney U Test ในการทดสอบค่าความเข้มข้นเลือดระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามมาตรฐานเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง

              ผลการวิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีข้อมูลทั่วไปที่คล้ายคลึงกันในโรคประจำตัว อาชีพ การศึกษา  สถานภาพสมรส รายได้ คนที่ดูแลขณะตั้งครรภ์ ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติเลือดจาง  และประวัติการฝากครรภ์  เมื่อทำการทดสอบค่าเฉลี่ยของค่าความเข้มข้นเลือดของหญิงตั้งครรภ์ภาวะปกติที่มีภาวะเลือดจาง พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการมีค่าเฉลี่ยของค่าความเข้มข้นเลือดและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลในระยะตั้งครรภ์ตามมาตรฐานอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

            จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าควรมีการนำโปรแกรมส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการไปใช้ต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาลให้แก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือดจาง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลหญิงตั้งครรภ์  ร่วมถึงการสนับสนุนให้บุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแลหญิงตั้งครรภ์อย่างต่อเนื่อง  ควรทำวิจัยเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของสมาชิกในครอบครัวต่อการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือดจาง

References

กรมอนามัย. สำนักโภชนาการ. (2557). คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

เฉลียว สัตตยานามัย, ผกาทิพย์ นามเรืองศรี, ณัชนันท์ ชีวานนท์, กฤษณา จันทร์หอม, เดือนรุ้ง มะลิงาม, สุรชัย มะลิงาม และต่อพงษ์ สงวนเสริมศรี. (2550). ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์: ความชุกและสาเหตุในโรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 5, 1(1), 10-18.

ถวัลย์วงศ์ รัตนศิริ และชุติมา เจริญสินทรัพย์. (2542). ความชุกของภาวะเลือดจางในสตรีตั้งครรภ์ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 13(3), 178-181.

ผ่องศรี แสนไชยสุริยา, สุนันทา ดวงศิริทรัพย์, เสาวนิตย์ สวัสดึ, พรสวรรค์ พรหมลักขโณ และสุวิมล สำราญภูมิ. (2554).การศึกษาสภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6. สืบค้นจาก http://203.157.71.148/Information/center/reserch%2054/anemia54.pdf

รายิน อโรร่า, ชยันตร์ธร ปทุมานนท์และชไมพร ทวิชศรี. (2552). ภาวะโลหิตจางในสตรีที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลลำปาง : ความชุกสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง. ลำปางเวชสาร, 30(1),28-37.

นฤมล ทองวัฒน์ วรรณ ด่านประดิษฐ์ และสุชาดา รัชชุกุล. (2552). ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ : กรณีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(3), 37-46.

อุ่นใจ กออนันตกุลและอานุภาพ เลขะกุล. (2549). การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง โรคเลือดระหว่างตั้งครรภ์. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

Momypedia. (2557). โลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์. สืบค้นจาก http://www.momypedia.com/wiki-3-8-31

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26