การส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ถูกทอดทิ้ง, ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพจิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งจังหวัดพิษณุโลกโดยสุ่มตัวอย่างจากประชากร 634 คน ได้จำนวน 167 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ordinary logistic analysis และขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.9 ผู้สูงอายุมีคะแนนสุขภาพจิตในระดับสูง ร้อยละ 17.4 ระดับปานกลาง ร้อยละ 63.5 และระดับต่ำ ร้อยละ 19.1 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับสุขภาพจิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ อายุ อาชีพในอดีต รายได้ สถานภาพทางการเงิน โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ การรับประทานยารักษาโรคประจำตัวเป็นประจำ การซื้อยากินเอง การรับประทานอาหารตรงเวลา การมองเห็น และปัญหาการเดิน นอกจากนี้ผลการวิจัยในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งพบว่าควรมีการส่งเสริมสุขภาพจิตให้ครอบคลุมใน 4 ประเด็น คือ 1) การพัฒนาศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพจิต 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพจิต 3) การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต และ 4) การสนับสนุนจากบุคคลภายนอกครอบครัว และบุคลากรด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพจิต ดังนั้น ควรนำกระบวนการดังกล่าวไปใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการส่งเสริมจิตของผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2556). รายงานผลการศึกษา/ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนา (ปฏิรูป) บทบาทภารกิจโครงสร้างและกลไกการทำงาน. สืบค้นจาก http://www.prasri.go.th/blueprint/letter/am05072013104020.pdf
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2542). การประเมินนโยบายและแผนงานด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข.ขอนแก่น : โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.
เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์ และคณะ. (2544). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพและการให้การดูแลผู้สูงอายุภายใต้เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของชุมชนและตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาในจังหวัดสงขลา. สืบค้นจาก http://www.sem100library.in.th/opac/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00006162
ประภาพร มโนรัตน์. (2553). รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับครูเกษียณ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
วิไลลักษณ์ รุ่งเมืองทอง. (2553). การประเมินโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2552). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.
เสน่ห์ แสงเงิน. (2556) การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการสร้างเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, นภาพร ชโยวรรณ และศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2548). การทบทวนองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2559). รายงานประจำปี 2559. พิษณุโลก: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2554). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ : พงษ์พาณิชย์เจริญผล.
อรุณี มิ่งประเสริฐ และ De Sheng, K. (2557). การศึกษาสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40 (2), 211-227.
อรุณี อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Gibson, C.H. (1991). A Concept analysis of empowerment. Journal of Advanced nursing, 16(1), 354-361.
Kawamoto, R., Yoshida, O., & Oka, Y. (2005). Influence of living alone on emotional well-being in community-dwelling elderly persons. Geriatrics & Gerontology International, 5(3), 152–158.
Margaret, S., & Westaway. (2009). The impact of chronic diseases on the health and well-being of South Africans in early and later old age. Archives of Gerontology and Geriatrics. 50 (2), 213-221
Mullins, L.C., Sheppard, H.L., & Anderson, L. (1988). A study of loneliness among a national sample of Swedish elderly. Comprehensive gerontology, 29(1), 36 -43.
Ryan, M.C., & Patterson, J. (1987). Loneliness in the elderly. Journal of erotological Nursing, 13(5), 6 – 12.
World Health Organization. (1986). Integrating poverty and gender into health programmes: A sourcebook for health professionals: module on ageing. N.P.: Regional Office for the Western Pacific.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น