ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
  • สมภาส สงวนวงศ์วิจิตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
  • อรณิต สงวนวงศ์วิจิตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
  • วลัยพร พงษ์มณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
  • ปิยรัตน์ ชูมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • อวินนท์ บัวประชุม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

คำสำคัญ:

การควบคุมความดันโลหิต, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต, บริการปฐมภูมิ, การรับประทานยาต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบ Retrospective cohort study มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ประชากรคือผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพระ ในช่วงเดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2559 เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล (HOSxP) นอกจากนี้ได้ใช้แบบเก็บข้อมูลแบบมีโครงสร้างในการรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลความดันโลหิต การรักษา และการรับประทานยาต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุตัวแปรลอจิสติก

              ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 404 คนเข้ารับบริการรวมทั้งสิ้น 2,152 ครั้ง โดยมีจำนวนระหว่าง 4 ถึง 7 ครั้งต่อปีหรือเฉลี่ย 5.33 ครั้งต่อปี  ซึ่งมีจำนวนที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ 249 คน คิดเป็นร้อยละ 61.63 โดยเพศชายมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้เป็น 1.78 เท่าของเพศหญิง (ORadj =1.78, 95% CI = 1.15 – 2.76) กลุ่มตัวอย่างที่รับประทานยาไม่ต่อเนื่องจะไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้เป็น 4.31 เท่าของกลุ่มที่รับประทานยาต่อเนื่อง (ORadj = 4.31, 95% CI = 1.48 – 12.60) และกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่า 25 ก.ก./ม2 จะมีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้เป็น 1.88 เท่าของกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25 ก.ก./ม2 (ORadj =1.88, 95% CI = 1.21 – 2.92) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < .05

             การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงในการควบคุมความดันโลหิต ได้แก่ เพศชาย การรับประทานยาที่ไม่ต่อเนื่องและค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่า 25 ก.ก./ม2 ผู้ให้บริการสุขภาพควรให้ความสำคัญในการดูแลในกลุ่มเพศชาย ส่งเสริมการรับประทานยาต่อเนื่องในผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ก.ก./ม2

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). รายงานประจำปี 2558 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

เนาวรัตน์ จันทานนท์, บุษราคัม สิงห์ชัย และวิวัฒน์ วรวงษ์. (2554). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมืองจังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น,16(6), 749-758.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2554). โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุและการป้องกัน. ใน ประเสริฐ อัสสันตชัย. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. (หน้า 171-194, พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น..

ยศพล เหลืองโสมนภา, สาคร พร้อมเพราะ, สมบัติ เหลืองโสมนภา และยุพาธร เสือเฒ่า. (2556). อิทธิพลของความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาต่อความร่วมมือในการกินยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในระดับสูง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(2), 146-157.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.thaihypertension.org/files/GL HT 2015.pdf.

Azuana, R., Nur, S., & Thomas, P. (2012). Medication adherence among hypertensive patients of primary health clinics in Malaysia. Patient Preference and Adherence,6, 613–622.

Ghembaza, M. A., Senoussaoui, Y., Kendouci Tani, M., & Meguenni, K. (2014). Impact of patient knowledge of hypertension complications on adherence to antihypertensive therapy. Current Hypertension Reviews, 10(1), 41-48.

James, P.A., Oparil, S., Carter, B.L., Cushman, W.C., Dennison-Himmelfarb, C., Handler, J., ... Ogedegbe, O. (2014). 2014 evidence-based guideline for the management of high blood pressure in adults: report from the panel members appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8). Jama, 311(5), 507-520.

Kearney, P.M., Whelton, M., Reynolds, K., Whelton, P.K., & He, J. (2004). Worldwide prevalence of hypertension: a systematic review. Journal of hypertension, 22(1), 11-19.
Khayyat, S.M., Khayyat, S.M.S., Hyat Alhazmi, R.S., Mohamed, M.M.A., & Abdul Hadi, M., (2017). Predictors of medication adherence and blood pressure control among Saudi hypertensive patients attending Primary Care Clinics: A cross-sectional study. PloS one, 12(1), e0171255. doi: 10.1371/journal.pone.0171255.

Morisky, D.E., Ang, A., Krousel‐Wood, M., & Ward, H.J. (2008). Predictive validity of a medication adherence measure in an outpatient setting. The Journal of Clinical Hypertension, 10(5), 348-354.

Mweene, M.D., Banda, J., Andrews, B., Mweene, M.M., & Lakhi, S. (2010). Factors associated with poor medication adherence In hypertensive patients In Lusaka, Zambia. Medical Journal of Zambia, 37(4), 252-261.

Neutel, J.M., & Smith, D.H. (2003). Improving patient compliance: a major goal in the management of hypertension. The Journal of Clinical Hypertension, 5(2), 127-132.

O'shea, P., Griffin, T., & Fitzgibbon, M. (2017). Hypertension: the role of biochemistry in the diagnosis and management. Clinica Chimica Acta, 465, 131-143.

Vrijens, B., Vincze, G., Kristanto, P., Urquhart, J., & Burnier, M. (2008). Adherence to prescribed antihypertensive drug treatments: longitudinal study of electronically compiled dosing histories. Bmj, 336(7653), 1114-1117.

World Health Organization. (2013). A global brief on hypertension. Retrieved March 17, 2017 from http://ish-world.com/downloads/pdf/global_brief_hypertension.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26