ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด:

ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม

ผู้แต่ง

  • จันทรมาศ เสาวรส ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, สารเหลือง

บทคัดย่อ

      ทารกแรกเกิดจะมีภาวะตัวเหลืองในช่วง 2-3 วันหลังคลอด เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ซึ่งอาจพบทารกแรกเกิดบางรายที่มีภาวะตัวเหลืองผิดปกติ ควรได้รับการประเมินสภาพและการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับทารก หากปล่อยให้ทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลืองผิดปกติ จะเสี่ยงต่อสมองพิการได้ บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พยาบาลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดขณะอยู่ในโรงพยาบาล นำเสนอเกี่ยวกับชนิด การประเมินสภาพทารก การวินิจฉัย อันตราย การรักษาและแนวปฏิบัติในการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของทารกและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการให้คำแนะนำมารดาหลังคลอดและครอบครัวเพื่อดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างเหมาะสม

References

กรรณิการ์ วงศ์ภาวิทย์. (2557). ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร และคณะ บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์1. (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 265-276). กรุงเทพฯ: นพชัยการพิมพ์.

กุลวดี มณีนิล. (2559). ตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน ประยงค์ เวชวนิชสนอง และวนพร อนันตเสรี (บรรณาธิการ). กุมารเวชศาสตร์ Pediatrics เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3) (หน้า 103-104). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

ประวันโน เกียรติชูสกุล และคณะ . (2555). ผลการพัฒนาระบบประสาทของทารกที่มีภาวะบิลิรูบินในเลือดสูงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 51(2), 120.

ปิยภัสรา หรี่อินทร์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกที่คลอดในโรงพยาบาลหนองสองห้อง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34 (3), 75-80.

วรรษมน ปาพรม. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนและแอปพลิเคชันให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38 (3), 167-178.

วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล. (2554). Neonatal Jaundice. ใน ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช และคณะบรรณาธิการ. Pediatrics. (หน้า 441). กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี.

วิลาศลักษณ์ ทะนงศักดิ์สกุล และคณะ. (2555). การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของทารกแรกเกิดที่ดูดนมมารดาอย่างเดียวที่อายุ 24, 48 ชั่วโมง และหาความสัมพันธ์กับการเพิ่มของค่า Microbilirubin ของทารกที่อายุ 48-72 ชั่วโมง กับน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลง. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 51(4), 277-286.

สุขุมาล หุนทนทาน. (2557). การศึกษาความชุก ความเสี่ยงทางคลินิกและผลการรักษาของทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(4), 21-34.

สุชีรา แก้วประไพ, สุทธิพรรณ กิจเจริญ และจิราพร สิทธิถาวร. (2559). การประเมินแนวปฏิบัติในการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(1), 139-153.

อารีรัตน์ ระวังวงศ์. (2554). รายงานการวิจัย เรื่องการดูแลทารกตัวเหลืองอย่างมีประสิทธิภาพ. นครศรีธรรมราช:โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนครศรีธรรมราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-16