ปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนาย, พฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ต, นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2561 จำนวน 401 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ความง่ายต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สัมพันธภาพในครอบครัวและพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ต ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน โดยได้ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ความง่ายต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สัมพันธภาพในครอบครัว และพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ต เท่ากับ 0.95, 0.83, 1 และ 1 ตามลำดับ และหาความเชื่อมั่นจากแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.926 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์เชิงอ้างอิง วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์หาปัจจัยทำนายด้วยสถิติวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคุณด้วยวิธี Stepwise
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 66.1 และพบว่าปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ตของกลุ่มตัวอย่าง คือระยะเวลาที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์ (β = 0.289, p < 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 8.3 (R2 = 0.083) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ทินกร อุ่นจิตติ. (2557). เสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์ค Social Networks Syndrome. การค้นคว้าอิสระหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์. (2545) พฤติกรรมการเสพติดอินเตอร์เน็ตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสพติดอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิติพงษ์ ศรีระพันธ์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นตอนปลายในเขตกรุงเทพ มหานคร ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พรจิรา ปริวัชรากุล. (2559). แกะรอยหยักสมอง มองผลกระทบของการพนัน. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง
พรทิพย์ รุ่มนุ่ม. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ตของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียน ในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา, ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แพง ชินพงศ์. (2559). 4 วิธีช่วยให้ลูกเลิกเสพติด แท็บเล็ต/สมาร์ทโฟน. สืบค้นจาก https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000044026
ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (2), 173-178.
รวิกรานต์ นันทเวช. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2556). ชีวิตประจำวันของเยาวชนในยุคสื่อออนไลน์. สืบค้นจาก https://bangkokpoll.bu.ac.th
อนุเทพ ภาสุระ. (2558). ปัญหาสุขภาพที่มาจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์: บทความจากสำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นจาก https://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=6398
อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. (2554). การเสพติดอินเทอร์เน็ตของชุมชนชาวออนไลน์. วารสารนักบริหาร, 31(3), 39-42.
อริยะ พนมยงค์. (2558). ‘ไลน์’ เผยปี59 คนไทยใช้งานทะลุ 50 ล้าน เผยเตรียมสร้างไลน์ให้เป็นมากกว่าแอพ. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/news/33885
Griffiths, M.D. (1995). Technological addictions. Clinical Psychology Forum,76, 14-19
Internet world stats :Usage and population statistics. (2016). Retrieved from https://www.internetworldstats.com/stats.htm
Young. K.S. (1999). Internet Addiction: Symptoms, Evaluation, and Treatment. Retrieved from https://netaddiction.com/articles/symptoms.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น