ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
คำสำคัญ:
ความรู้ทางโภชนาการ, ทัศนคติต่ออาหาร, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, ภาวะโภชนาการ, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 ทั้งหมดจำนวน 350 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 มีคะแนนความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหารโดยรวม และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนเต็มเท่ากับ 67.64, 72.96 และ 61.93 ตามลำดับ เมื่อประเมินภาวะโภชนาการพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 24.30 มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 66.80 และมีน้ำหนักเกินจนถึงอ้วน ร้อยละ 8.90 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางโภชนาการ พบว่ามีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่ออาหาร (r=171, p<.05) และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร (r=107, p<.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร และพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้นักศึกษามีคะแนนความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหารเฉลี่ยและพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง จึงควรส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม และสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับนักศึกษา
References
ณัฐพร สุแสงรัตน์. (2556). พฤติกรรมการบริโภคอาหารส่งเสริมสุขภาพและภาวะโภชนาการของนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ตวงพร กตัญญุตานนท์. (2554). ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3 อ. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 14 (28), 67-84.
ถาวร มาต้น. (2553). โรคอ้วน: ภัยคุกคามสุขภาพคนไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 40(3), 356-365.
นพวรรณ เปียซื่อ, ดุษณี ทัศนาจันทธานี, สุมาลี กิตติภูมิ และพรรณวดี พุธวัฒนะ. (2552). ความรู้ทางทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(1), 48-59.
นุกูล ตะบูนพงศ์, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์ และนิตยา ตากวิริยะนันท์. (2537). การรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 12(3), 117-126.
เบญจา มุกตพันธ์. (2554). โภชนาการสำหรับคนวัยต่างๆ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พุทธชาด สวนจันทร์. (2550). ความรู้ทางโภชนาการการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มัณฑินา จำภา. (2556). ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติต่ออาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และภาวะโภชนาการ ของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 6(2), 144-157.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
อนุกูล พลศิริ. (2551). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง, 11(1), 49-60.
Choo, V. (2002). WHO reassesses appropriate body–mass index for Asia Population. The Lancet, 360(9328), 235.
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation learning. New York: Megraw–Hill.
Murray, R.B., & Zentner, P.J. (1993). Nursing assessment and health promotion: Strategies through the life span. (5th ed.). Norwalk, CT: Appleton & Lange.
Zimbardo, P.G. (1997). Influencing attitude and behavior, (2nd ed.). California: Addison Wesley Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น