การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ภาสินี โทอินทร์ สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อัญชลี สารรัตนะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปนัดดา ญวนกระโทก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนการสอน, การแก้ปัญหาทางการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลและ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนกับนักศึกษาพยาบาล แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบท (Contextual Study) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ร่างรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลประกอบด้วย 2 ขั้นตอน (1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมรูปแบบและเครื่องมือ ระยะที่ 2 ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนกับกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) การศึกษาผลของรูปแบบใช้วิธีการวิจัยแบบ (Pre-experimental design) โดยศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้ศึกษาเฉพาะกรณีให้การทดลองหนึ่งครั้ง (One-shot case study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภทคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 5 แผน ใช้เวลา 10 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติ ได้แก่  แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลและคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า

       1. การศึกษาบริบท (Contextual study) ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ โครงสร้างและองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล เทคนิคและวิธีการสอนที่ใช้ร่วมกับรูปแบบ กิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล

        2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ (3) กิจกรรมการเรียนการสอนมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน : OPMA model คือ ขั้นปฐมนิเทศ (Orientation) ขั้นวางแผน (Planning)  ขั้นกำกับตนเอง (Monitoring) ขั้นประเมินตนเอง (Assessment) และ (4) การประเมินผล โดยการวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาล ผลการประเมินพบว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก ในขณะที่ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียน จำนวน 18 คน     คิดเป็นร้อยละ 75.00 2) นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนเรียน จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 3) นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ.2553. สืบค้นจาก http:www.moe.go.th/moe/th/home

จิราวัลณ์ วินาลัยวนากุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธวิธีอภิปัญญาที่ส่งเสริมความ สามารถในการถ่ายโยงความรู้และการแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนิสิตพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่: ทฤษฎีแนวปฏิบัติและหลักการวิจัย. นนทบุรี: สหมิตรปริ๊นติ้ง.

ดรุณี รุจกรกานต์. (2557). เอกสารประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ (มคอ.2) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: Test Blueprint.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0 กับ PLC สร้างเด็กศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วันเพ็ญ ยอดคง. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดเฉพาะวิชาชีพพยาบาลเชาวน์ปัญญาและความสามารถในการเผชิญอุปสรรค จริยธรรมในวิชาชีพกับความสามารถในการแก้ปัญหาทางการพยาบาลชองนักศึกษาพยาบาล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. (2559). รายงานพฤติกรรมผู้ประเมินตนเอง ปี 2559. สืบค้นจาก https://www.bcnu.ac.th/bcnu

สภาการพยาบาล. (2558). ผลสอบวัดความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผดุงครรภ์ชั้น 1. สืบค้นจาก https://www. tnmc.or.th/news/141

ศุภวดี แถวเพีย, สิวาพร พานเมือง, นงลักษณ์ คำสวาสดิ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง, กัญยา ทูลธรรม, ศิริพร ภูษี และสุวิมล พุทธบุตร. (2557). รายงานวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริงต่อสมรรถนะด้านการพยาบาล ผดุงครรภ์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 28 วิทยาลัย- ศรีมหาสารคาม. มหาสารคาม: วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม.

Aronson, B., Rosa, J., Anfinson, J., & Light, N. (1997). Teaching tools: A simulated clinical problem solving experience. Nurse Educator, 22(16), 17-19.

Best, J.W., & Kahh, J.V. (1986). A Wide variety of methodologies including descriptive, experimental and quasi-experimental research, 181.

Butler, D.L., & & Winne, P.H. (1995). Feedback and Self-regular Learning: A Theoretical Synthesis. Review of Education Research, 65(3), 245-281.

Cholowski, K., Chan, L.K. (2004). Cognitive factors in student nurse" clinical problem solving. PubMed, 10 (1), 85-95.

Cinar, N,, Sozeri, C., Sahin, P., Cevahir, R., & Say, M. (2010). Problem solving skills of the nursing and midwifery Students and influential factors. Revista Eletronicade Enfermagem, 12(4), 601-606.

Joyce, B,, & Weil, M. (2000). Models of Teaching. (6th ed.) New Jersey : Prentice Hall.

Kuhn, D., & Dean, D. (2004). Metacognition: A bridge between cognitive psychology and educational practice. Theory into Practice, 43, 268-273.

Mayer, R.E. (1998). Cognitive, metacognitive, and motivational aspects of problem solving. Instructional Science, 26, 49-63.

Schunk, D.H., & Zimmerman, B.J. (Eds.) (1998). Self-regulated learning: From teaching to self-reflective practice" New York: Guiford Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-16