ผลของการออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่องและยางยืดต่อการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความกลัวต่อการหกล้มในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม

ผู้แต่ง

  • เบญญาภา ศรีปัญญา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • บรรณสิทธิ สิทธิบรรณกุล ภาควิชาสังคมศาสตร์และพลศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

การออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่องและยางยืด, การทรงตัว, ความกลัวการหกล้ม, ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่องและยางยืด ต่อการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความกลัวต่อการหกล้มในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม อาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม จำนวน 40 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่องและยางยืด สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการทรงตัวด้วยการทดสอบการเดินไป-กลับระยะทาง 3 เมตร แบบประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้วยการทดสอบการลุกนั่ง 5 ครั้ง และวิธียืนยกเข่าขึ้น-ลง 2 นาที และแบบประเมินความกลัวการหกล้ม เครื่องมือในการทดลองประกอบด้วย วีดิทัศน์ และเอกสารคู่มือการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

          ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองอาสาสมัครในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และความกลัวการหกล้มแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F =18.94, 31.24, 5.98; p<.025) และหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการทรงตัว ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และความกลัวการหกล้มแตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .025 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่องและยางยืดต่อการเพิ่มการทรงตัว และลดความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุ ดังนั้นบุคลากรทางสุขภาพจึงควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้อายุออกกำลังกายด้วยตารางเก้าช่องและยางยืด เพื่อป้องกันการหกล้ม

References

กรมสุขภาพจิต, กรมการแพทย์, กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2555). คู่มือการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ : บียอนด์ พับลิสซิ่ง.

เขมภัค เจริญสุขศิริ, นุศราพร แซ่ลิ้ม, หรรษกร สาระพันธุ์ และธัญญาลักษณ์ พรมสุข. (2561). ผลของการออกกําลังกายแบบก้าวตามตารางกับการฝึกการทรงตัวที่มีต่อการทรงตัวและคุณภาพชีวิด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(2), 98-107.

จันทนา รณฤทธิวิชัย, ถนอมขวัญ ทวีบูรณ์, สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี, รัชนี ศุจิจันทรรัตน์, ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์และจันทนี กฤดิบวร. (2552). การประเมินสมรรถภาพกายก่อนและหลังการออกกำลังกายแอโรบิก แบบตารางเก้าช่องและยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยใช้ยางยืดของผู้สูงอายุในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 27(3), 68-77

เจริญ กระบวนรัตน์. (2540). ยางยืดพิชิตโรค. กรุงเทพฯ: บริษัทแกรนสปอร์ต กรุ๊ป.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2550). ตาราง 9 ช่อง กับการพัฒนาสมอง. กรุงเทพฯ: แกรนด์สปอร์ตกรุ๊ป.

ชุติมา ชลายนเดชะ. (2557). คัดกรองการลมดวย Timed Up and Go Test (TUG). วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบําบัด, 26(1), 6-16.

นงนุช วงศ์สว่าง, ดนุลดา จีนขาวขำ, ชลธิชา บุญศิริ, สุรินทร์ มีลาภล้น, จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ, เพ็ญจมาศ คำธนะ และธานี กล่อมใจ. (2560). ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2492-2506.

น้อมจิตต์ นวลเนตร์, ชนาดา อรศรี และณัฐนรี ชัยพิพัฒน์. (2559). การเปรียบเทียบการออกกำลังกายด้วยตาราง 9 ช่องกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสามารถในการทรงตัวแบบดั้งเดิมต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง. วารสารกายภาพบำบัด, 38(3), 93-102.

นิพา ศรีช้าง และลวิตรา ก๋าวี. (2560). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 - 2564. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (หน้า 1-8). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์

พรรณทิพ แสงสว่าง, โรจนี จินตราวัฒน์ และกนกพร สุคำวัง. (2559). ผลของการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 31(1), 5-18.

ลัดดา เถียมวงศ์. (2554). การทดสอบคุณสมบัติของเครื่องมือประเมินอาการกลัวหกล้มในผู้สูงอายุไทย. สงขลานครินทร์เวชสาร, 29(6), 277-287.

สมฤทัย พุ่มสลุด และศศิมา พกุลานนท์. (2555). ผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความสามารถในการ ทรงตัวของผู้สูงอายุ. การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9, 2385-2393.

สกุลรัตน์ อัศวโกสินชัย, จารุวรรณ แสงเพชร และวราภรณ์ รุ่งสาย. (2554). ผลของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 28(2), 110-120.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

American College of Sports Medicine position stand exercise and physical activity for older adults. (1998). Medicine and science in sports and exercise, 30(6), 992-1008.

Barker, A. L., Bird, M. L., & Talevski, J. (2015). Effect of pilates exercise for improving balance in older adults: A systematic review with Meta-Analysis. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 96(4), 715-723.

Bhanusali, H., Vardhan, V., Palekar, T., & Khandare, S. (2015). Comparative study on the effect of square stepping exercises versus balance training exercises on fear of fall and balance in elderly population. International Journal of Physiotherapy and Research, 4(1), 1352-1359.

Borg, G. A. (1982). Psychophysical bases of perceived exertion. Medicine and science in sports and exercise, 14(5), 377-381.

Dongling, Z., Qiwei, X., Mingxing, H., Yuxi, L., Jing, Y., Hui, Z., Lina, X., Chi, Z., Fanrong, L., Juan, L., & Rongjiang, J. (2019). Tai Chi for improving balance and reducing falls : A protocol of systematic review and meta-analysis. Medicine, 98(17), 1-6.

Ferretti, F., Lunardi, D., & Bruschi, L. (2013). Causes and consequences of fall among elderly people at home. Fisioter Mov, 26(4), 753-762.

Gusi, N., Adsuar, J. C., Corzo, H., Pozo-Cruz, B., Olivares P. R. & Parraca, J. A. (2012). Balance training reduces fear of falling and improves dynamic balance and isometric strength in institutionalised older people: a randomised trial. Journal of Physiotherapy, 58(2), 97-104.

Hamed, A., Bohm, S., Mersmann, F., & Arampatzis, A. (2018). Follow-up efficacy of physical exercise interventions on fall incidence and fall risk in healthy older adults: a systematic review and meta-analysis. Sports Medicine Journal, 56(4), 1-19.

Mishra, N., Mishra, A. K., & Bidija, M. (2017). A study on correlation between depression, fear of fall and quality of life in elderly individuals. International Journal of Research in Medical Science, 5(4), 1456-1460.

Means, K. M., O'Sullivan, P. S., & Rodell, D. E. (2003). Psychosocial effects of an exercise Program in older persons who fall. Journal of Rehabilitation Research & Development, 40(1), 49 - 58.

Oh, J. S., & Park, J. H. (2013). An analysis of factors affecting the dynamic balance of the elderly. International Journal of Digital Content Technology and its Applications, 7(12), 201-209

Podsiadlo, D., & Richardson, S. (1991). The timed “Up & Go”: a test of basic functional mobility for frail elderly persons. Journal of the American Geriatrics Society, 39(2), 142-148.

Puthoff, M. L., & Saskowski, D. (2013). Reliability and responsiveness of gait speed, five times sit to stand and hand grip strength for patients in cardiac rehabilitation. Cardiopulmonary physical therapy journal, 24(1), 31-37.

Rikli, R., & Jones, J. (2002). Development and validation of functional fitness test for community-residing older adults. Journal of Aging and Physical Activity, 3, 24-30.

Silsupadol, P. (2012). Exercise as an intervention for preventing falls in community-dwelling older adults. Thai Journal of Physical Therapy, 34(5), 180-192.

Terroso, M., Rosa, N., Marques, A. T., & Simoes, R. (2014). Physical consequences of falls in the elderly: a literature review from 1995 to 2010. European Review of Aging and Physical Activity, 11, 51–59.

Thiamwong, L., Thamarpirat, J., Maneesriwongul, W., & Jitapunkul, S. (2008). Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. Journal of the Medical Association of Thailand, 91(12), 1823-1832.

World Health Organization. (2016). WHO Global Report on Falls Prevention in Older Age. Retrieved from http://www.who.int/ageing/publications/Falls_prevention7March.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-28