ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคผิวหนังอักเสบของพนักงานโรงงานแปรรูปน้ำยางพาราในจังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
ผิวหนังอักเสบ, โรคผิวหนังอักเสบจากการทำงาน, พนักงานโรงงานแปรรูปน้ำยางพารา, ยางพาราบทคัดย่อ
สภาพแวดล้อมในการทำงานและลักษณะงานในโรงงานแปรรูปยางพาราอาจส่งผลต่อสุขภาพของพนักงานโดยเฉพาะโรคหรือความผิดปกติของผิวหนังจากการสัมผัสกับน้ำหรือสารเคมี การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ในพนักงานโรงงานแปรรูปน้ำยางพาราในจังหวัดตรัง จำนวน 167 คน ที่เข้าร่วมโครงการสร้างเสริมสุขภาพระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2561 เก็บข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ การเกิดโรคผิวหนังอักเสบจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจากแบบสำรวจโรคผิวหนังจากการทำงานของนอร์ดิค (Nordic occupational skin questionnaire) โดยพยาบาลวิชาชีพ และข้อมูลการตรวจวินิจฉัยโรคผิวหนังอักเสบโดยแพทย์จากแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์โดยการหาความถี่ และร้อยละ และสถิติเชิงอ้างอิง ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือ ใช้สถิติ Chi-Square test หรือ Fisher’s exact test
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ 59.3 อายุเฉลี่ย 39 ปี ปฏิบัติงานในโรงงานระหว่าง 1-3 ปี ร้อยละ 85.02 เฉลี่ย 1 ปี 6 เดือน ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ร้อยละ 46.70 และคนพม่า ร้อยละ 31.70 ความชุกของโรคผิวหนังอักเสบในพนักงานโรงงานแปรรูปน้ำยางพาราในจังหวัดตรัง คือ ร้อยละ 50.90 โดยพบในผู้หญิง (ร้อยละ 58.80) มากกว่าผู้ชาย (ร้อยละ 42.00) แผนกที่ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์โรคผิวหนังอักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น น้อยกว่า 0.05 (X2 = 12.45, df = 4, p = 0.014) ในขณะที่ เพศ อายุ อายุการทำงาน ประวัติเคยมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ และชนิดของสารเคมีที่สัมผัส ไม่มีความสัมพันธ์โรคผิวหนังอักเสบ อาการของโรคผิวหนังอักสบที่พบบ่อยคือ อาการคัน และแสบ (ร้อยละ 43.11 และ 22.16 ตามลำดับ) ส่วนอาการแสดงที่พบบ่อยคือ มีผื่นแดง (ร้อยละ 32.93) มีรอยแตก (ร้อยละ 14.37) ตุ่มน้ำ (ร้อยละ 14.37) และตุ่มแดง (ร้อยละ 13.17) จากผลการศึกษาซึ่งพบความชุกของโรคผิวหนังอักเสบในอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำยางพาราในจังหวัดตรังค่อนข้างสูง ควรมีการจัดการทางด้านอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงาน ให้ความรู้ในเรื่องการดูแลและปฏิบัติตัวหลังปฏิบัติงานแก่พนักงานโรงงานแปรรูปน้ำยางพารา
References
กานต์ กาญจนพิชญ์. (2560). อาการทางระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังและระบบประสาทจากภาวะมลทางอากาศและกลิ่นในพนักงานโรงงานแปรรูปยางแผ่นรมควันแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(2), 135-47.
กิตติพล ไพรสุทธิรัตน, สุนทร ศุภพงษ์ และประณีต สัจจเจริญพงษ์. (2560). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือในผู้ประกอบอาหารโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์และโรงพยาบาลศูนย์ภาคกลาง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(2), 148- 159.
ประณีต สัจจเจริญพงษ์ และสุวิรากร โอภาสวงศ์. (2555). Occupational skin diseases. ใน ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุตร, กนกวลัย กุลทนันทน์, กฤษฎา ดวงอุไร, และกอบกุล อุณหโชค (บรรณาธิการ), Dermatology 2020 ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน. (หน้า 31-41). กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติก พับลิชซิ่ง.
ประภาภรณ์ อักษรพันธ์, วีระพร ศุทธาภรณ์ และวราภรณ์ เลิศพูนวไลกุล. (2555). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของคนงานโรงงานยางแผ่นรมควัน. พยาบาลสาร, 39(3), 26-37.
ปรียา กุลละวณิชย์ และประวิตร พิศาลบุตร (บรรณาธิการ). (2555). ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.
ปางก์เพ็ญ เหลืองอกทิน และศิริลักษณ์ วงษ์วิจิตสุข. (2553). อาการผิวหนัง และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการทางผิวหนังในกลุ่มเกษตรกร ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น, 3(1), 11-19.
โรงพยาบาลโรคผิวหนังเขตร้อนภาคใต้. (2560). รายงานประจำปี. ตรัง: ตรังการพิมพ์.
วันเพ็ญ ทรงคำ, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2557). ปัจจัยอันตรายในการทำงานและภาวะสุขภาพของคนงานผลิตเครื่องปั้นดินเผา. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(26), 6-16.
วิภาสิริ สายพิรุณทอง, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล และประณีต สัจจเจริญพงษ์. (2558). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังอักเสบบริเวณมือของคนงานโรงงานเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกในจังหวัดราชบุรี.ธรรมศาสตร์เวชสาร, 15(2), 251-9.
สถาบันโรคผิวหนัง. (2560). รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.
สัจจพล พงษ์ภมร. (2554). ผื่นแพ้สัมผัสจากการทำงานในแม่บ้านทำความสะอาดของโรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกรมการแพทย์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 1(2), 153-165.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2562). อุตสาหกรรมยางและเทคโนโลยีในการผลิต. คลังข้อมูลสารสนเทศระดับภูมิภาค (ภาคใต้). สืบค้นจาก https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/used/01-02.php
Al-Otaibi, S. T., & Alqahtani, H. A. M. (2015). Management of contact dermatitis. Journal of Dermatology & Dermatologic Surgery, 19(2), 86-91. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jdds.2015.01.001.
Behroozy, A., & Keegel, T. G. (2014). Wet-work exposure: a main risk factor for occupational hand dermatitis. Safety and Health at Work, 5(4), 175-80.
Belsito, D. V. (2005). Occupational contact dermatitis: Etiology, prevalence, and resultant impairment/disability. Journal of the American Academy of Dermatology, 53 (2), 303-313.
Coenaads, P. J., Nater, J. P., & Van der lende, R. (1983). Prevalence of eczema and other dermatoses of the hands and arms in the Netherlands: association with age and occupation. Clinical and Experimental Dermatology, 8(5), 495-503.
Dotson, G. S., Maier, A., Siegel, P. D., Anderson, S. E., Green, B. J., Stefaniak, A. B., … , Kimber, I. (2015). Setting occupational exposure limits for chemical allergens—understanding the challenges. Journal of Occupational & Environmental Hygiene, 12, S82–S98. Retrieved from https://doi.org/10.1080/15459624.2015.1072277.
Farage, M. A., Miller, K. W., Berardesca, E., Maibach, H. I. (2009). Clinical implications of aging skin: cutaneous disorders in the elderly. American Journal of Clinical Dermatology, 10(2), 73-86. doi: 10.2165/00128071-200910020-00001.
Flyvholm, M.A., & Lindberg, M. (2006). OEESS-2005: Summing up on the theme irritants and wet work. Contact Dermatitis, 55(6), 317-321.
Flyvholm, M. A., Susitaival, P. , Meding B., Kanerva, L., Lindverg, M., Svensson, A., et al. (2002). Nordic occupational skin questionnaire NOSQ-2020. Copenhagen: Aka-print.
Goh, C. L. (1986). Prevalence of contact allergy by sex, race and age. Contact Dermatitis, 14(4), 237-240.
Ibler, K. S., Jame, G. B., Anger, T. (2012). Exposure related to hand eczema: A study of health care workers. Contact dermatitis, 66(5), 247-253.
Jones, R., & Horn, H. M. (2014). Identifying the causes of contact dermatitis. Practitioner, 258(1772), 27-31. Retrieved from https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=ccm&AN=107869454&site=ehost-live.
McMullen, E., & Gawkrodger, D. J. (2006). Physical friction is under-recognized as an irritant that can cause or contribute to contact dermatitis. The British Journal of Dermatology, 154(1), 154-156.
Meding, B., & Swanbeck, G. (1990). Consequences of having hand eczema. Contact Dermatitis, 23(1), 6-14.
Meding, B., Lindahl, G., Alderling, M., Wrangsjo, K., AnvedenBerglind, I. (2013). Is skin exposure to water main
ly occupational or nonoccupational? A population‐based study. British Journal of Dermatology, 168(6), 1281-1286.
Motolese, A., Truzzi, M., Giannini, A., & Seidenari, S. (1993). Contact dermatitis and contact sensitization among enamellers and decorators in the ceramics industry. Contact Dermatitis, 28 (2), 59-62.
Nair, T., Garg, S., & Singh, M. (2016). A study of the health profile of rubber plantation workers in rural Kerala. Asian Journal of Medical Sciences, 7(3), 103-107. Retrieved from https://doi.org/10.3126/ajms.v7i3.13288
Nicholson, P.J., Llewellyn, D., & English, J. S. (2010). Evidence-based guidelines for the prevention, identification and management of occupational contact dermatitis and urticaria. Contact Dermatitis, 63(4), 177-86.
Seidenari, S., Danese, P., Di Nardo, A., Manzini, B. M., & Motolese, A. (1990). Contact sensitization among ceramics workers. Contact Dermatitis, 22(1), 45-9.
Vermeulen, R., Kromhout, H., Bruynzeel, D. P., de Boer, E. M., Brunekreef, B. (2001). Dermal exposure, hand washing, and hand dermatitis in the rubber manufacturing industry. Epidemiology, 12(3), 350-354.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น