การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

ผู้แต่ง

  • ชนิดา ธนสารสุธี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • ละมัด เลิศล้ำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

ทักษะการจัดการเรียนการสอน, การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง, อาจารย์พยาบาล

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง (Simulation  Based  Learning:  SBL) ของอาจารย์กลุ่มตัวอย่างคืออาจารย์พยาบาล สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ จำนวน 22 คน การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะอาจารย์ในการจัดการการเรียนการสอนโดยใช้ SBL และตรวจสอบคุณภาพ  3) พัฒนาทักษะอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL และ 4) ประเมินผล ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม 2560 จนถึงเดือนสิงหาคม 2561 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบประเมินความรู้การจัดการเรียนการสอนด้วย SBL การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการศึกษา พบว่า

            1. บริบทปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL พบว่าการสอนแบบเดิมมีการเน้นเนื้อหาเป็นหลัก มากกว่ากระบวนการคิดวิเคราะห์และการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันยังไม่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้เท่าที่ควร ผู้สอนส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้รูปแบบการสอนที่พัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนได้ และเห็นว่า SBL เป็นวิธีการสอนวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีไปดูแลผู้ป่วย

            2. รูปแบบการพัฒนาทักษะอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ SBL ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1)การปรับทัศนคติเกี่ยวกับการสอนด้วย SBL 2) การให้ความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ การให้ความรู้ภาพกว้างเกี่ยวกับการสอนด้วย SBL, การให้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการออกแบบโจทย์สถานการณ์, ฝึกปฏิบัติการออกแบบโจทย์สถานการณ์จำลอง, วิพากษ์และปรับปรุงโจทย์สถานการณ์, ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL, ฝึกปฏิบัติการสอนด้วยเทคนิควิธีการสอน SBL, ให้ความรู้เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลด้วย SBL, ฝึกปฏิบัติการออกแบบการวัดและประเมินผลด้วย SBL 3) การสนทนากลุ่มเพื่อประเมินผลและทบทวนองค์ความรู้ (AAR)ประเมินผลการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนด้วย SBL 1) คะแนนความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนด้วย SBLหลังจากที่อาจารย์ได้รับการพัฒนาทักษะการสอนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.76, p-value < 0.05) 2) ร้อยละ 62 ของผู้เรียนสอบผ่านสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลที่เกณฑ์ร้อยละ 60 (โดยประเมินจากคะแนนการสอบประเมินผลสัมฤทธิ์ (OSCE) และร้อยละ 100 ของผู้เรียนมีคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดย SBL อยู่ในระดับดีขึ้นไป

         รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

           

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชัยวัฒน์ สิทธิรัตน์. (2554). การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ทิศนา แขมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2560). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: วงศ์สว่างพับลิชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง.

Aebersold, M. (2016). The history of simulation and its impact on the future. AACN Advanced Critical Care, 27(1), 56-61.

Cant, R. P., & Cooper, S. J. (2010). Simulation-based learning in nurse education: Systemic review. Journal of Advanced Nursing, 66(1), 3-15.

Chen, Y-L., Hong, Y-R., Sung, Y-T., & Chang, K-E. (2011). Efficacy of simulation-based learning of electronics using visualization and manipulation. Education Technology & Society, 14(2), 269-277.

Gore, T., Hunt, C. W., Parker, F., & Raines, K. H. (2011). The effects of simulated clinical experiences on anxiety: nursing students perspectives. Clinical Simulation in Nursing, 7(5), e175-e180.

Issenberg, S. B., Ringsted, C., Ostergaard, D., & Dieckmann, P. (2011). Setting a research agenda for simulation-based healthcare education: A synthesis of the outcome from an utatein style meeting. Simulation in Healthcare, 6(3),155-167

Ji Young, K., & Eun Jung, K. (2015). Effects of simulation on nursing students’ knowledge, clinical reasoning and self-confidence: A quasi-experimental study. Korean Journal of Adult Nursing, 27(5), 604-611.

Lasater, K. (2007). Clinical judgment development: Using simulation to create an assessment rubric. Journal of Nursing Education, 6(11), 496-503.

McAllister, M., Levett-Jones, T., Downer, T., Harrison, P., Harvey, T., & Reid-Searl, K. (2013). Snapshots of simulation: Creative strategies used by Australian educators to enhance simulation learning experiences for nursing students. Nurse Education in Practice, 13(6), 567-572.

McGaghie, W. C., Issenberg, S. B., Petrusa, E. R., & Scalese, R. (2006). Effect of practice on standardized learning outcomes in simulation-based medical education. Medical Education, 40(8), 792-797.

Middleton, K. (2014). Clinical simulation: Designing scenarios and implementing debriefing strategies to maximize team development and student training. Retrieved from https://www.ahrq.gov/downloads/pub/advances2/vol3/
advances- lavelle_33.pdf.

Nehring, W. M., & Lashley, F. R. (2010). High-fidelity patient simulation in nursing education.
Canada: Jones and Baetlett.

Rall, M., Manser, T., & Howard, S. K. (2009). Key elements of debriefing for simulator training. European Journal of Anesthesiology, 17(8), 515-526.

Riley, R. H. (2016). Manual of simulation in healthcare. Oxford: Oxford University Press.

Parush, A., Hamm, H., & Shtub, A. (2002). Learning histories in simulation-based teaching: the effects on self-learning and transfer. Computers and Education, 39(4), 319-332.

Salas, E., Wildman, J. L., & Piccolo, R. F. (2009). Using simulation-based training to enhance management education. Academy of Management Learning, 8(4), 559-573.

Smith, S. J., & Roehrs, C. J. (2009). High-fidelity simulation: Factors correlated with nursing student satisfaction and self-confidence. Nursing Education Perspective, 30(2), 74-78.

Steadman, R.H. (2006). Simulation-based training is superior to problem-based learning for the acquisition of critical assessment and management skills. Critical Care medicine, 34(1), 151-157.

Sun-Nam, P., Min-Sun, C., Yoon-Young, H., Sun-Hee, K., & Sun-Kyoung, L. (2015). Effects of integrated nursing practices simulation-based learning training on stress, interest in learning, and problem-solving ability of nursing students. Journal of Korean Academic Fundamental Nursing, 22(4), 424-432.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28