พฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสานในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง:

แนวคิด การประเมินและแนวทางการนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ดาลิมา สำแดงสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • วรรณรัตน์ จงเขตกิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • ปิยะพร พรหมแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสาน, ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

          ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุ การรักษามีทั้งการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก การจัดการกับความเครียด และพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ ทำให้ผู้สูงอายุเกิดพฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสานซึ่งเป็นการกระทำกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมสุขภาพตนเองที่ไม่ใช่การรักษาแผนปัจจุบัน โดยปฏิบัติเสริมควบคู่ไปกับการรักษาแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต ดังนั้นแนวทางการส่งเสริมผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงให้มีพฤติกรรมสุขภาพแบบผสมผสานอย่างเหมาะสมสามารถช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน และช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุต่อไป

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2559). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2557-2559. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์ แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานข้อมูลและคลังความรู้ กระทรวงสาธารณสุข.

โครงการฟื้นฟูการนวดไทย. (2551). คู่มือการนวดไทยในการสาธารณสุขมูลฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โครงการฟื้นฟูการนวดไทย.

จิริยา อินทนา, รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์, นาตยา วงศ์ยะรา, เพ็ญจมาศ คำธนะ และเบญจวรรณ ศรีโยธิน. (2553). รายงานวิจัยเรื่องพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.

จินตนา สุวิทวัส. (2552). การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยกายบริหารแบบไทยท่าฤๅษีดัดตน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 32(4), 84-92.

จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. (2556). สมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป.

ชุติมา หมวดสง, วรรณี จันทร์สว่าง และไหมไทย ศรีแก้ว. (2549). ความต้องการการใช้บริการการแพทย์แผนไทยของผู้สูงอายุในตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 4(1), 44-53.

ทัศนีย์ ศรีญาณลักษณ์, อุมาพร ปุญญโสพรรณ และไหมไทย ศรีแก้ว. (2554). การดูแลแบบผสมผสานของ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(1), 61-73.

ธิติสุดา สมเวที. (2553). ผลของการปฏิบัติสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กงต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปทิตตาจา รุวรรณชัย และกฤช จรินโท. (2558). คุณลักษณะของผู้ใช้การแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลของรัฐ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(2), 73-84.

ปิยะภัทร เดชพระธรรม. (2554). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. ใน ประเสริฐ อัสสันตชัย (บรรณาธิการ), ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 399-423). กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยนครีเอชั่น.

ปุลวิชช์ ทองแตง และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2557). ประสบการณ์ชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 288-295.

วิชัย เอกพลกร (บรรณาธิการ). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้ง ที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2558). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริพร สนิทนิตย์ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตนในกลุ่มผู้สูงอายุโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฏีความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(3), 304-310.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555. สืบค้นจาก https://www.thaihypertension.org/files/GL%20HT%202015.pdf

สำนักการแพทย์ทางเลือก. (2556). การแพทย์ทางเลือก (Traditional Chinese Medicine). วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก, 6(1), 1-10.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). การสาธารณสุขไทย 2554 - 2558. สืบค้นจาก https://hp.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1264.

สำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2558). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2558. สืบค้นจาก https://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/Part%201/11/hypertension.pdf

สุรีพร ชุมแดง. (2550). การดูแลแบบผสมผสานในผู้สูงอายุโรคมะเร็งระหว่างได้รับรังสีรักษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อายุพร ประสิทธิเวชชากูร. (2557). สุขภาพทางเลือกกับมุมมองในการพิจารณาเลือกใช้ที่ไม่ควรมองข้าม. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 38-43.

National Center for Complementary therapy and Alternative Medicine (NCCAM). (2008). What is Complementary therapy and Alternative Medicine (CAM). Retrieved from https://altmed.od.nih.gov/health/whatiscam/pfd/

Rubio-Guerra, A. F., et al. (2013). Depression increases the risk for uncontrolled hypertension. Experimental & Clinical Cardiology, 18(1), 10-12.

Prochaska, J., DiClemente, C. (1983). Stages and processes of self-change of smoking: Toward an integrative model of change. Journal of Counseling and Clinical Psychology, 51(3), 390-395.

The Panel Members Appointed to the Eighth Joint National Committee (JNC 8). (2014). Evidence-based guideline for the management of high blood pressure in adults. JAMA, 31(5), 507-520. Retrieved from https://jama.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=1791497

World Health Organization. (2013). A global brief on hypertension. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/79059/WHO_DCO_WHD_2013.2_eng.pdf?sequence=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29