อัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของพยาบาลวิชาชีพ ตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์, การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์, พยาบาลวิชาชีพ, จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และการรับรู้เอกลักษณ์และอัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ตามความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาอัตลักษณ์และปัจจัยที่มีผลต่ออัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จากพยาบาลวิชาชีพตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 350 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิโดยไม่ใช่สัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สมรรถนะการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม สมรรถนะด้านการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สมรรถนะทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .943, .942, .755 และ .974 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละขั้นตอน (Stepwise) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการรับรู้เอกลักษณ์และอัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. อัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของพยาบาลวิชาชีพตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.23, SD = 0.35)
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของพยาบาลวิชาชีพตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สมรรถนะด้านการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม (Beta = .710) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 50.20 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .001
3. พยาบาลวิชาชีพตามโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รับรู้ว่าตนเองมีเอกลักษณ์การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในประเด็นการเข้าใจในบริบทของชุมชนและรู้ชัด รู้จริง ในเรื่องของชุมชน สำหรับการรับรู้อัตลักษณ์ว่ามีจุดเด่นในการดูแลที่เปรียบเสมือนญาติ เปรียบเสมือนลูกหลานที่ดูแลคนในครอบครัว มีความเอื้ออาทร มีจิตบริการ และให้บริการคนในชุมชนด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
References
คณะรัฐมนตรี. (2550). โครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/cabt/110394
จินตนา ยูนิพันธุ์. (2554). จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพพยาบาล. เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการพยาบาล หน่วยที่ 1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ยุพาวดี ขันทบัลลัง, อำพล บุญเพียร, สอาด มุ่งสิน, รุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์. (2560). เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนกตามการรับรู้ของนักศึกษา อาจารย์ ครูพี่เลี้ยง และผู้ปกครอง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 60-70.
บุญเอื้อ บุญฤทธิ์. (2556). การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่และ พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ. วารสารเกษมบัณฑิต, 14(2), 46-58.
ประไพพิศ สิงหเสม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, มาริสา สุวรรณราช และเนติยา แจ่มทิม. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 15-34.
ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และปราณีต ส่งวัฒนา. (2557). วิธีการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล ตามแนวคิดทฤษฎีของ แคมพินฮา-บาโคท. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(1), 146-157.
ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร, ประณีต ส่งวัฒนา และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2557). คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่ที่มีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 8(2), 47-55.
สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก. กรุงเทพฯ: ยุทธรินทร์การพิมพ์.
สายสวาท เผ่าพงษ์. (2554). อัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. นครราชสีมา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา.
Bernadette, M. M., Lynn, G. F., Lisa, E. L., & Ellen, F. O. (2014). The Establishment of evidence-based practice competencies for practicing registered nurses and advanced practice nurses in real-world clinical settings: Proficiencies to improve healthcare quality, reliability, patient outcomes, and costs. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 11(1), 5-15.
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed). New Jersey: Pearson Education.
Kleiman, S. (2009). Human centered nursing: The foundation of quality care. Philadelphia: F.A. Davis.
MauK, L. K. (2014). Gerontological nursing competencies for care. Massachusetts: Courier Companies.
Miller, W. L., & Crabtree, B. F., (1992). Primary care research: A multimethod typology and qualitative road map. In B.F. Crabtree & W. L., Miller (Eds.), Doing Qualitative Research, (pp. 3-28). Newbury Park: SAGE.
Potter, A. P. & Perry, G. A. (2007). Basic Nursing Essentials for Practice (6th ed). Missouri: Gopsons Papers.
Walter, S. (2008). Holistic Health. Retrieved from https://ahha.org/articles.asp?Id=85.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed). New York : Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น