การศึกษาสถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • เพชรรัตน์ พิบาลวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • จตุพร จันทะพฤกษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ภาวิณี แพงสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • ปิยนุช ภิญโย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ภควรรณ ตลอดพงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • นิสากร เห็มชนาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,609 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน และแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-T 2002) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแควร์

        ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 61.1 มีอายุอยู่ในช่วง 60-70 ปี ร้อยละ 58.4 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 73 ไม่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ร้อยละ 93.4 และมีระดับความดันโลหิตซิสโตลิค < 140 mmHg ร้อยละ 75.8 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 89.9 และสงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 10.1 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ได้แก่  อายุ (gif.latex?x^{2}= 28.080, p = .000) ระดับการศึกษา (gif.latex?x^{2}=54.356, p = .000) พฤติกรรมการสูบบุหรี่ (gif.latex?x^{2}= 5.849, p = .016) และความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (gif.latex?x^{2}= 24.312, p = .000) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำเป็นปัจจัยพื้นฐานในการออกแบบการดูแลและป้องกันภาวะสมองเสื่อมให้กับผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แบบคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการคัดกรอง/ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับเจ้าหน้าที่ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์.
ขวัญเรือน ก๋าวิตู, สุคนธา ศิริ, ดุสิต สุจิรารัตน์ และศรุตพันธ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา. (2558). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสองเสื่อมในผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง. The national graduate conference ครั้งที่ 34. อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 27 มีนาคม 2558. 915 – 923.
ชุติมา ทองวชิระ, สุชาดา โทผล, เรณู ขวัญยืน และสมจิต นิปัทธหัตถพงษ์. (2559). ความชุก ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุและการพัฒนาคู่มือการให้ความรู้ : กรณีศึกษาชุมชนเขตบางพลัด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
พาวุฒิ เมฆวิชัยและสุรินทร์ แซ่ตัง. (2556). ผลกระทบการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(1), 101-110.
ธัญญาสิริ ธันยสวัสดิ์. (2561). การศึกษาความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชธานี. 25 พฤษภาคม 2561. 1222-1234.
นิพพาภัทร์ สินทรัพย์, จิณวัตร จันครา และบุปผา ใจมั่น. (2560). โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ : เพชฌฆาตเงียบที่ควรตระหนัก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 100-111.
บุษบา คำสวน. (2554). ความชุกของภาวะเสี่ยงต่อสมองเสื่อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ตำบลน้ำรัด อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มุกดา หนุ่ยศรี. (2559). การป้องกันภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(1), 226- 240.
มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2561). ประชากรของประเทศไทยพ.ศ. 2561. สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล, 27, 1-2.
วัลลภา อันดารา, อุบลรัตน์ สิงหเสนี และปัทมา วงค์นิธิกุล. (2559). การศึกษาภาวะเสี่ยง ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อม และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(1), 23-33.
วิลาสินี สุราวรรณ. (2560). ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 58-69.
วิชัย เอกพลาการ. (2552). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. กรุงเทพมหานคร: เดอะกราฟิกซิสเต็มส์.
ลลิตา พนาคร, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ และพิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์.(2556). ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(1), 42-54.
ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทรงตัว ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและความสามารถของสมองของผู้สูงอายุในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล, 63(4), 20-28.
ศิรินทิพย์ คำฟู กฤษณพนธ์ ชัยมงคล ชันลิกา ไชยชมภู และเพ็ญพิชชา แก้วมุณีวงศ์. (2557). การคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและภาระในการดูแลตนเองในผู้สูงอายุ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(4), 389-393.
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. (2561). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. กรุงเทพมหานคร: เดอะกราฟิกซิสเต็มส์.
สายสุนีย์ เลิศกระโทก, สุธรรม นันทมงคลชัย และศุภชัย ปิติกุลตัง. (2556). ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(1), 42-54.
อาทิตยา สุวรรณ์ และสุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2559). ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 5(2), 21-32.
Alzheimer’s Disease International. (2016). World Alzheimer’s report 2016. London : Alzheimer’s disease International (ADI).
Abell, J.G., Kivimäki, M., Dugravot, A., Tabak, A.G., Fayosse, A., Shipley, M., Sabia, S. & Singh-Manoux, A. (2018). Association Between Systolic Blood Pressure and Dementia in the Whitehall II cohort study: role of age, duration, and threshold used to define hypertension. Uropean heart journal, 39(3), 3119-3125.
Kennelly, S.P., Lawlor, B.A. & Kenny, R.A. (2009). Blood pressure and dementia - a comprehensive review. Therapeutic advance in Neurological disorders, 2(4), 241-260.
Munro, B.H. (2001). Statistical method for health research. (4th ed.). New York: Lippincott.
Sharp, E.S., & Gatz, M. (2011). Relationship between education and dementia: an updated systematic review. Alzheimer Disease and Associated Disorder, 25 (4), 289 - 304.
Xu, W., Tan, L., Wang, H.F., Jiang, T., Tan, M.S., Tan, L., et al. (2015). Meta-analysis of modifiable risk factors for Alzheimer’s disease. Journal of Neurology, Neurosurgery and Psychiatry, 86(12), 1284-1295.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-24