การพัฒนานวัตกรรม “กล่องบอกความดัน ป้องกันโรค”
คำสำคัญ:
โรคความดันโลหิตสูง, การป้องกันโรค, พฤติกรรมสุขภาพ, นวัตกรรมบทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงส่งผลต่อโรคต่างๆ ตามมา จึงควรมีการป้องกันไม่ให้กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลของการพัฒนานวัตกรรม “กล่องบอกความดัน ป้องกันโรค” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรม “กล่องบอกความดัน ป้องกันโรค” สำหรับประชาชนกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงก่อนและหลังการทดลองใช้นวัตกรรม และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม ทดลองใช้นวัตกรรมในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในตำบลปากโทก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามความพึงพอใจในรูปแบบนวัตกรรม ทดสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20=0.618) วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิตินอนพาราเมตริก การทดสอบวิลคอกซัน
ผลการศึกษาพบว่า ทั้งก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมอาสาสมัครมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 83.50 และร้อยละ 96.50 ตามลำดับ) โดยพบว่าความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงภายหลังใช้นวัตกรรมสูงกว่าก่อนใช้นวัตกรรมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.01). อาสาสมัครมีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 85.92) จะเห็นได้ว่าการทดลองใช้นวัตกรรม “กล่องบอกความดัน ป้องกันโรค” สามารถช่วยให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์กับบุคลากรสาธารณสุขในการนำนวัตกรรมไปใช้เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงต่อไป
References
วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2560). รายงานประจำปี 2559. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จากhttps://www.plkhealth.go.th/uploads/documents/20170202_093602__2500.pdf
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายละเอียดตัวชี้วัดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ระดับกระทรวงและการตรวจราชการ ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=12400&gid=18.
สุพัชรินทร์ วัฒนกุล มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ นิรัตน์ อินามี และสุปรียา ตันสกุล. (2556). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้การจัดการตนเองเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 27(1), 16-30.
สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์ อภิเชษฐ์ พูลทรัพย์ และนิดา มีทิพย์. (2560). การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชน เขตอ.เมือง จ.พิษณุโลก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4 (พิเศษ), s131-46.
อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, อรอนงค์ วิชัยคำ, วิภาดา คุณาวิกติกุล และวิไลพรรณ ใจวิชัย. (2558). บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพภาคเหนือ, พยาบาลสาร, 42 (ฉบับพิเศษ), 178-186.
World Health Organization [WHO]. (2013). A global brief on Hypertension: Silent killer, global public health crisis. Retrieved 1st March 2018, from https://apps.who.int/iris/bitstream/10665/79059/1/WHO_DCO_WHD_2013.2_eng.pdf?ua=1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น