ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับ การส่งข้อความผ่านระบบไลน์ต่อการเสพยาบ้าในวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้า

ผู้แต่ง

  • ธมลชนก ส่งแสง สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เพ็ญพักตร์ อุทิศ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเสพยาบ้า, การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม, การส่งข้อความผ่านระบบไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การเสพยาบ้าของวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์ในระยะก่อนและหลังการทดลอง และ 2) การเสพยาบ้าของวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในระยะก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าจำนวน 40 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและมารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ได้รับการจับคู่ด้วยเพศและคะแนนความรุนแรงของการเสพติดยาบ้า แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้โปรแกรมการบำบัดฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินการใช้ยาบ้าและ 4) แบบประเมินระดับความอยากเสพ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 และเครื่องมือชุดที่ 4 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .83 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที (t-test)

          ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของการเสพยาบ้าลดลงกว่าก่อนทดลองและลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของการเสพยาบ้าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการเสพยาบ้าลดลงทุกคน

References

กงจักร สอนลา. (2555). ผลของโปรแกรมการฝึกสติต่อความรู้สึกอยากแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยในระยะบำบัดด้วยยา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการ พยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉวีวรรณ ปัญจบุศย์ และสุกุมา แสงเดือนฉาย. (2556). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อป้องกันการติดซ้ำของผู้ป่วยติดเมทแอมเฟตามีน. วารสารกองการพยาบาล, 40(1), 24-38.
ดรุณี ภู่ขาว และคณะ. (2552). การบำบัดผู้ติดสุราและสารเสพติดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม.นนทบุรี: แผนงานวิชาการสารเสพติดชุมชน.
ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2556). ภาวะซึมเศร้า : การบำบัดและการให้คำปรึกษาโดยการปรับความคิดและพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.
ทิพาวดี เอมะวรรธนนะ. (2547). จิตวิทยาการปรึกษาสำหรับผู้ติดยาเสพติด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภศิลป์ กุลจิตเจือวงศ์. (2556). ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน: ข้อดีข้อจำกัดของแอปพลิชั่น. วารสารนักบริหาร, 33(1), 42-53.
ศิริลักษณ์ แสงส่อง. (2558). ผลของโปรแกรมครอบครัวบำบัดแบบผสมผสานต่อการเสพยาบ้าในวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้า. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2560). สถิติผู้ป่วยทั้งหมดที่เสพยาบ้าและเสพร่วมกับยาอื่นๆของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จำแนกตามปีงบประมาณ 2558-2560. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.pmnidat.go.th
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2560). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขยาเสพติด ปี 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). ข้อมูลประชากร. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th
Beck, A.T., Rush, A.J., Shaw, B.F., & Emery, G. (1979). Cognitive Therapy of depression. U.S.A.: The Guilford Press.
Beck, A.T., Rush, A.J., Shaw, B.F., & Emery, G. (1993). Cognitive Therapy of Substance Abuse. U.S.A.: The Guilford Press.
Cole-Lewis, H., & Kershaw, T. (2010). Text messaging as a tool for behavior change in disease prevention and management. Psychoactive Drugs 32(1), 56-69.
Ingmar, F. (2014). Drug craving and addiction: integration psychological and Neuropsychopharmacological approaches. Retrieved November 3, 2017 from
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0278584603000812
Melemis, M.S. (2010). How to Overcome Anxiety, Depression and Addiction. United States: Jennifer Stimon Design.
Marlatt, G.A., & Gordon, J.R. (1985). Relapse Prevention: Maintenance Strategies in the Treatment of Addictive Behaviors. New York: Guilford Press.
Sobell, L.C., & Sobell, M.B. (1992). Timeline follow-back: A technique for assessing self-reported alcohol consumption. In Litten, R. Z., and Allen, J. P.(eds.), Measuring Alcohol Consumption: Psychosocial and Biochemical Methods, 4(2): 41-72.
Victoria, K., et al. (2013). A cognitive Behavioral therapy-based text messaging intervention for methamphetamine dependence. Journal of Psychoactive Drugs, 4, 434-442.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-24