ผลของกระบวนการนิเทศทางการพยาบาลต่อการบันทึกทางการพยาบาลด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • จิตรวี เล็กอุดากร โรงพยาบาลปราสาท

คำสำคัญ:

กระบวนการนิเทศ, การบันทึกทางการพยาบาล, ปวด

บทคัดย่อ

        การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการนิเทศทางการพยาบาลต่อการบันทึกทางการพยาบาลด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด ทำการศึกษาในประชากรที่เป็นเวชระเบียนผู้ป่วยในของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดในแผนกศัลยกรรมและแผนกสูตินรีเวชกรรม จำนวน 70 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือกระบวนการนิเทศทางการพยาบาลเรื่องการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบตรวจสอบการบันทึกด้านการจัดการความปวด เครื่องมือวิจัยและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบและทำการทดลองใช้กับประชากรที่เป็นเวชระเบียนผู้ป่วยในจำนวน 70 ฉบับ ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ในการวิเคราะห์การบันทึกทางการพยาบาลด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด

         ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการใช้กระบวนการนิเทศทางการพยาบาลมีการบันทึกด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดครอบคลุมมากขึ้นทุกกิจกรรม กิจกรรมที่มีการเปลี่ยนอย่างชัดเจนมากที่สุด ได้แก่ การบันทึกในบันทึกทางการพยาบาล และการบันทึกคะแนนความปวดที่ฟอร์มปรอท โดยการจุดลากเส้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนกิจกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ได้แก่ การระบุปัญหา และการระบุสาเหตุของความปวด

        ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดกิจกรรมการนิเทศอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มกิจกรรมในการนิเทศในกิจกรรมอื่น

References

จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี และสุธีรา จักรกุล เหลืองสุขเจริญ. (2552). การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลันในโรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 15(3), 303-314.

จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. (2555). การคำนวณขนาดตัวอย่าง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 20(3),192-198.

นภสร จั่นเพชร, อำภาพร นามวงศ์พรหม และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2556). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติต่อการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่ทางช่องท้อง โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี. สืบค้นจาก https://www.rsu.ac.th/nurse/download/56-7.pdf.

ประคิณ สุจฉายา, วิจิตร ศรีสุพรรณ, โรจนี จินตนาวัฒน์, กุลธิดา พฤติวรรธน์ และศรีมนา นิยมคำ. (2549). บันทึกทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์: แนวคิด วิธีบันทึก และการใช้ประโยชน์. ม.ป.ท.: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ผ่องศรี สุพรรณพายัพ, พรทิพย์ สุขอดิศัย และกรรณิกา อำพน. (2556). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 6(1), 12-26.

เผอิญ ณ พัทลุง. (2559). บทบาทการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เป็นจริงและที่คาดหวังด้านการใช้กระบวนการพยาบาล ด้านการบันทึกทางการพยาบาล และด้านการพัฒนาความรู้ของบุคลากร ในโรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 190-206.

พวงเพชร สุริยะพรหม และสุขุมาล ต้อยแก้ว. (2553). การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลน่าน. วารสารกองการพยาบาล, 37(2), 1-14.

รัชตวรรณ ศรีตระกูล. (2558). กลยุทธ์การนิเทศทางการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ. ขอนแก่น: สำนักบริการการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สภาการพยาบาล และสถาบันรับรองคุณภาพสถานการพยาบาล (องค์การมหาชน). (2557). คู่มือแนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพ: ศรีเมืองการพิมพ์.

Campbell, J.N. (1996). APS 1995 Presidential address. Pain Forum, 5(1), 85–88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-16