การศึกษาย้อนหลังกรณีการร้องเรียนมีมูลความจริงมาตรา 57 มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ของหน่วยบริการในเขตบริการสุขภาพที่ 6
คำสำคัญ:
บริการสุขภาพ, การร้องเรียนมีมูลความจริง, เขตบริการสุขภาพบทคัดย่อ
การร้องเรียนมาตรา 57 มาตรา 59 เป็นเสียงสะท้อนของประชาชนต่อกระบวนการให้บริการ พฤติกรรมบริการ หรือผลจากการบริการด้านสาธารณสุข เพื่อขอความช่วยเหลือ แก้ไข ตรวจสอบข้อเท็จจริง อันเนื่องมาจากการได้รับความเดือดร้อน การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นมีมูลความจริง กรณีการร้องเรียน มาตรา 57 มาตรา 59 แยกตามประเภทการร้องเรียน จังหวัด หน่วยบริการ บุคลากร สาขาที่เข้ารับบริการ และช่วงเวลาการปฏิบัติงานของหน่วยบริการในเขตบริการสุขภาพที่ 6 โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลของศูนย์ประมวลผลกลางระบบร้องเรียน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่าง 1 ตุลาคม 2558-30 กันยายน 2559 ใช้สถิติ ความถี่ และร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่าจากกรณีการร้องเรียนมีมูลความจริงทั้งหมด 162 เรื่อง พบจำนวนการร้องเรียนมากที่สุด ดังนี้ 1) ประเภทการร้องเรียน ได้แก่ การไม่ได้รับบริการตามสิทธิที่กำหนด 62 เรื่อง (ร้อยละ 38.30) 2) จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ 84 เรื่อง (ร้อยละ 51.58) 3) ประเภทบุคลากรที่ได้รับการร้องเรียน ได้แก่ แพทย์ 29 เรื่อง (ร้อยละ 40.85) 4) หน่วยบริการ ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน 61 เรื่อง (ร้อยละ 37.65) 5) สาขาที่เข้ารับบริการ ได้แก่ การแพทย์ฉุกเฉิน 57 เรื่อง (ร้อยละ 35.18) และ 6) ช่วงเวลา ได้แก่ เวรเช้า 65 เรื่อง (ร้อยละ 69.15) สาเหตุของปัญหาการร้องเรียนที่สำคัญ คือ เจ้าหน้าที่และประชาชนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการใช้ชุดสิทธิประโยชน์
References
ฉัตรสุมน พฤติภิญโญ. (2557). ระบบชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ความผิด. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 1(1), 60-75.
ธิดารัตน์ ขาวเงินยวง. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 1(3), 196-207.
ปภัศร ชัยวัฒน์ และคณะ. (2555). การศึกษาคุณภาพการบริการของสถานพยาบาลในระบบประกัน สังคม. สืบค้นจาก https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/_th/79290e924de344ad3f17 a6bb2322e488.pdf
ปัตพงษ์ เกตุสมบูรณ์, นุศราพร เกตุสมบูรณ์, ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย และอมร เปรมกมล. (2552). การเรียกร้องเงินชดเชยจากภาวะไม่พึงประสงค์ที่เกิดในโรงพยาบาล. วารสารระบบวิจัยสาธารณสุขสาธารณสุข, 3(4), 567-572.
พิชยา ศรเลิศล้ำวาณิช และสุธรรม ปิ่นเจริญ. (2555). การจัดการเรื่องร้องเรียน ณ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 30(5), 277-285.
ศูนย์ข้อมูลกฎหมาย สำนักกฎหมาย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). กฎ ระเบียบที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. [ม.ป.ท.].
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปีงบประมาณ 2557. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-about_result.aspx
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปีงบประมาณ 2558. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-about_result.aspx
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปีงบประมาณ 2559. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-about_result.aspx
สำนักบริการประชาชนและคุ้มครองสิทธิ Call Center 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). รายงานรายละเอียดเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 6 ระยอง. [ม.ป.ท.].
สำนักบริการประชาชนและคุ้มครองสิทธิ Call Center 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). รายงานรายละเอียดเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 6 ระยอง. [ม.ป.ท.].
สำนักบริการประชาชนและคุ้มครองสิทธิ Call Center 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). รายงานรายละเอียดเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 6 ระยอง. [ม.ป.ท.].
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 8 อุดรธานี. (2556). การประเมินการรับรู้เรื่องสิทธิและความพึงพอใจของ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปี 2556. สืบค้นจาก https://110.77.142.132/nhso8/download/downdocfile255_1.pdf
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข พ.ศ. 2558. สืบค้นจากhttps://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/healthresource2558_29Dec60.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น