คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างที่มารับบริการ คือผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 200 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย 26 ข้อ (WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.5 มีอายุระหว่าง 60- 69 ปี ร้อยละ 54.5 โรคที่พบมากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 65.5 และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 81 นอกจากนี้จากการศึกษาผู้สูงอายุโรคเรื้อรังมีระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 65 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าคุณภาพด้านจิตใจ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 63 ด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 71 ด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดี ร้อยละ 53 และพบว่าองค์ประกอบคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 45.5
References
จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง และฉันทนา นาคฉัตรีย์. (2555). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(3), 88-99.
ชมนาค สุ่มเงิน. (2543). ปัจจัยที่เป็นทำนายความเข้มแข็งในการมองโลกของผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, สายทิพย์ สุทธิรักษา, ช่อผกา วนาทรัพย์ดำรง, และวรรณพร วรรณทิพย์. (2560). ภาวะซึมเศร้า คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในประชาชนที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ชุมชนบ้านมะกอก จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสวนปรุง, 33(1), 14-30.
ชุติเดช เจียนดอน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, ฉวีวรรณ บุญสุยา และนพพร โหวธีระกุล. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(3), 229-239.
ประภาพร มโนรัตน์, กฤษณะ คำฟอง, วรพล แวงนอก และพรฤดี นิธิรัตน์. (2559). การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 8(2), 96-111.
ปะราลี โอภาสนันท์. (2559). การพยาบาลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ. ศูนย์หนังสือจุฬากรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย.
นงนุช แย้มวงษ์. (2557). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 21(1), 37-44.
มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ และพิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, (ฉบับพิเศษ), 18-29.
สมพร โพธินาม, พิศ แสนศักดิ์, จงกล พูลสวัสดิ์, วิรัตน์ ปานศิลา, ชนิศา ปานศิลา, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, …ณัฐจาภรณ์ พิชัยณรงค์. (2552). ผู้สูงอายุ บริบทของจังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 24(3), 197-205.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. งานสถิติ. (2560). รายงานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560, จาก http://cpho.moph.go.th/wp/?page_id=188
ศิรินทิพย์ โกนสันเทียะ. (2554). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เมืองยาง อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 17(1), 31-44.
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, พิชสุดา เดชบุญ, กฤติเดช มิ่งไม้, ศศิวิมล โพธิ์ภักตร์, สานุรักษ์ โพธิ์หา และสุชานรี พานิชเจริญ. (2560). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพูจังหวัดขอนแก่น. วารสาร ราชพฤกษ์, 15(1), 16-26.
อรวรรณ กูลจีรัง และนารีรัตน์ สังวรพงษ์พนา. (2558). คุณภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคพาร์กินสัน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23(3), 86-96.
อิศวร ดวงจินดา. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6), 1118-1126.
Ibrahim, N., Che Din, N., Ahmad, M., Ghazali, S., Said, Z., Shahar, S.,…Razali, R. (2013).
Relationship between social support and depression, and quality of life of the elderly in a rural community in Malaysia. Asia-Pacific psychiatry, 5, 59-66.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น