ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรค เบาหวานรายใหม่ ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 2) การอบรมให้ความรู้ การเข้าฐานและสาธิตการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 4อ. 3ส. 3) การวัดความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และพฤติกรรมการป้องกันตนเอง 4) การออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที และ 5) การบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด ค่ารอบเอว และค่าดัชนีมวลกายในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 คน ซึ่งถูกคัดเลือกมาแบบจำเพาะเจาะจงโดยมีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 1) เป็นบุคคลที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100-125 mg/Dl และยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานโดยแพทย์ 2) เป็นบุคคลที่มีรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในเพศหญิง ≥ 80 เซนติเมตร และในเพศชาย ≥ 90 เซนติเมตร และ 3) เป็นบุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในเพศหญิง ≥ 23kg./m.² และในเพศชาย ≥ 25kg./m.² และนำโปรแกรมมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างรวมเวลา 4 สัปดาห์ ผลของโปรแกรม พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีค่าเฉลี่ยของความรู้การรับรู้โอกาสเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าดัชนีมวลกาย และค่ารอบเอวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อเสนอแนะกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่เข้าร่วมกิจกรรมครบ 4 สัปดาห์ โดยเฉพาะการออกกำลังกายทำให้มีค่าดัชนีมวลกาย ค่าระดับน้ำตาลในเลือดและค่ารอบเอวลดลง จึงควรจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดีอย่างถาวร และขยายผลต่อไปยังกลุ่มเสี่ยงรุ่นต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปี 2560 จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2560, จาก https://hdcservice.moph.go.th
เกษฎาภรณ ์ นาขะมิน. (2556). กลวิธีการป้องกันโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารสมาคม พยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(1), 43-51.
ขนิษฐา พิษฉลาด และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องการเกิดโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน จังหวัดเชียงราย. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(3), 132-146.
จริยาภรณ์ พลอยแก้ว และสุพัฒนา คำสอน. (2558). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมแรงจูงใจต่อพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2560, จาก http://www.northern.ac.th/north_research/p/document/file_14909406071.pdf
ณิชาพัฒน์ เรืองสิริวัฒก์. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงในประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 27(1), 74-87.
เทพ หิมะทองคำและคณะ. (2557). ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
บุญสัน อนารัตน์ และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงระยะก่อนโรคเบาหวาน ตำบลนาข่า อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560, จาก https://www.google.co.th/search?biw=1242&bih
ปิติ ทั้งไพศาล. (2560). อสม.ร้อยเอ็ด ต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคด้วย 4อ. 3ส. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2560, จากhttp://thainews.prd.go.th/website_th/news
พรทิพย์ สมตัว และคณะ. (2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(1), 2.
รัตนา เกียรติเผ่า. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง ตำบลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(3), 405-412.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน. (2560). สถานการณ์คัดกรองโรคเบาหวาน. ฐานข้อมูล HOSxPโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด.
วัฒนา สว่างศรี และศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานรายใหม่ในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 116-122.
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. (2557). คู่มือสำหรับการทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเรื้อรัง. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560, จาก http://app2.pnc.ac.th/km/wp-content/uploads/2014/.../guideForHealthBehavior Change.doc
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). ประเมินความเสี่ยงเบาหวานจาก IDF. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560, จาก http://www.dmthai.org/news_and_knowledge.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2560). รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). อัตราการป่วยตายด้วยโรคเบาหวาน เขตบริการสุขภาพที่ 7 จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561, จาก https://ret.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อประชากร เขตบริการสุขภาพที่ 7 จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561, จากhttps://ret.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php.
อนัน โกนสนเทียะ. (2557). ผลของโปรแกรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ต่อภาวะสุขภาพ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกัน โรคเบาหวาน ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 9(1), 1-8.
อรุณี ผุยปุ้ย. (2556). การพัฒนาแนวทางการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดพิจิตร. วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 80-88.
Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed.) Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall.
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw–Hill.
Davis, L.L. (1992). Instrument Review: Getting the Most from a Panel of Experts. Applied Nursing Research, 5, 194-197.
Janz, K.N., Campion, V.L., & Strecher, V.J. (2002). The Health Belief Model. In Glanz K. & Lewis F.M. & Rimerb K. (Eds.), Health Behavior and Health Education Theory, Research, and Practice (pp. 45-53). San Francisco: Jossy-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น