รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของแรงงานข้ามชาติต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ ตามมุมมองของบุคลากรทางสาธารณสุข จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม, โรคติดต่ออุบัติใหม่, แรงงานข้ามชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานแบบการวิจัยเชิงปริมาณนำการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของแรงงานข้ามชาติต่อการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ตามมุมมองของบุคลากรทางสาธารณสุขของจังหวัดสระแก้ว เหตุผลที่ทำวิจัยเรื่องนี้เนื่องจากโรคติดต่ออุบัติใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ แรงงานข้ามชาติจากประเทศกัมพูชาซึ่งไม่ได้รับการฉีดวัคซีนพื้นฐานเหมือนกับประเทศไทย เข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้น  จึงมีความเสี่ยงที่แพร่กระจายเชื้อโรคอุบัติใหม่ไปยังบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง อันจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ อาจสูญเสียชีวิตหรือค่าใช้จ่ายรักษาตามมาอีกจำนวนมาก กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากรทางสาธารณสุขของจังหวัดสระแก้ว จำนวน 335 คน และผู้บริหารด้านสาธารณสุข จำนวน 11 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ค่าเฉลี่ย ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ผู้กำหนดนโยบาย ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์การป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่เชิงรุกแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน วางแผนจัดระบบการป้องกันโรคจากสัตว์ข้ามแดนที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเรียนรู้ภาษากัมพูชาของบุคลากร จัดระบบล่ามและบริหารให้คุ้มค่า   2) ผู้ให้บริการทางสาธารณสุข ต้องเรียนรู้ภาษากัมพูชาเพื่อให้สื่อสารได้อย่างเข้าใจ ให้ความรู้และคำแนะนำการเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่อย่างเข้าใจและติดตามผลการปฏิบัติตามคำแนะนำสม่ำเสมอ 3) ผู้ปฏิบัติ (แรงงานข้ามชาติ) ต้องใส่ใจในความรู้และคำแนะนำการรักษาและการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ ปฏิบัติตามคำแนะนำและมาพบแพทย์ตามนัด ครอบครัวแรงงานข้ามชาติต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการปฏิบัติตนตามคำแนะนำ จากผลการวิจัยพบว่าแรงงานข้ามชาติไม่ค่อยมาพบแพทย์ตามนัด ไม่ค่อยสนใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและขาดความรู้ในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคอุบัติใหม่ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยจึงควรให้นายจ้างรับแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาถูกต้องตามกฎหมายและใส่ใจอนุญาตให้แรงงานข้ามชาติไปพบแพทย์ตามนัด ผู้นำชุมชนและเพื่อนบ้าน ถ้าพบเห็นแรงงานข้ามชาติป่วยให้จัดระบบส่งตัวไปรับการรักษาก่อนจะมีอาการรุนแรงและมีการแพร่ระบาดของโรค

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2559). AEC/ASEAN ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559, จาก
http://www.dtn.go.th/index.php/forum/aec-asean.html
กรรณิการ์ ปัญญาวงศ์ และพนัส พฤกษ์สุนันท์. (2555). เอกสารประกอบการเรียน วิชาการดูแลสุขภาพแบบ
องค์รวม. สมุทรสงคราม: สถาบันการเรียนเพื่อปวงชน สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แผนปฏิบัติการแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกันและแก้ปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559). กรุงเทพฯ : องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2555-2559). (2555). แผนยุทธศาสตร์เตรียม ความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องคุณลักษณะของบุคลากรทางสาธารณสุขเพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารสาธารณสุข จังหวัดฉะเชิงเทรา. นำเสนอโปสเตอร์งานประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 37 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วันที่ 17-18 ธันวาคม 2558.
นิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา. (2559). ปัจจัยกำหนดสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน. วารสารวิชาการ สาธารณสุข, 25(1), 147-156
ประสิทธิ์ มานะเจริญ. (2557). การศึกษาและพัฒนาความร่วมมือทางด้านสาธารณสุขชายแดนภาคตะวันออก เพื่อการแก้ปัญหาสาธารณสุข. รายงานการศึกษา. หลักสูตรนักบริหารการทูต สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์ วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ
พัชราภรณ์ อารีย์ และวิภาดา คุณาวิติกุลม. (2556). สุขภาพหนึ่งเดียว: พยาบาลเกี่ยวข้องอย่างไร. พยาบาลสาร. 40 (ฉบับพิเศษ), 143-149.
สมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย. (2561). บทสรุป Workshop on national immunization program and
vaccine coverage in ASEAN countries. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561, จาก
http://www.pidst.or.th/A626.html
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2556). บอร์ดกำลังคนด้านสุขภาพวิตกแรงงานข้ามชาติ พุ่งแนะหาทางดึง บุคลากรเพื่อนบ้านเสริมทัพ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2558, จาก http:www.nationhealth.ot.th
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). EPI Program :วัคซีนพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561, จาก http://nvi.go.th/index.php/vaccine-knowledge/epi-program
สำนักงานแรงงานจังหวัดสระแก้ว. (2558). รายงานสถานการณแรงงานจังหวัดสระแกว ไตรมาสที่ 2 ป 2557. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2558, จาก
http://sakaeo.mol.go.th/sites/sakaeo.mol.go.th/files/sthaankaarndaanaerng
ngaancchanghwadsraaekw_aitrmaas_2_pii_2557_nod.pdf
สํานักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). สถิติแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัด.
อรทัย ศรีทองธรรม, สุภาภรณ์ สงค์ประชา, วิศิษฎ์ สงวนวงศ์วาน และสุวารี เจริญมุขยนันท์. (2555). รายงานการวิจัย
เรื่องผลกระทบจากแรงงานข้ามชาติลาว กัมพูชาและพม่า ต่อภาระงานบริการสุขภาพของโรงพยาบาลตาม
แนวชายแดนของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2558, จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). E-Library.
http://elibrary.trf.or.th/fullP/RDG5510008//RDG5510008_abstract.pdf
Barnett, E.D. & Walker, P. F. (2008). Role of Immigrations and Migrants in Emerging infectious
Diseases. Emerging infectious Diseases, 92 (6), 1447-1458)
Bastami, F., Sharafkhani, N., Bakhteyar, K., Heydari, M., Hassanzadeh, A. & Mostafavi, F. (2017).
Effect of education intervention based on health belief model on psychological factors of AIDS preventive behaviors in addicts. Journal of Research & Health, 7(6), 1120-1129.
Baylor College of Medicine. (2016). Emergency Infectious Diseases. Retrieved 17 January 2017,
From https://www.bcm.edu/departments/molecular-virology-and-microbiology/ emerging-infections-and-biodefense/emerging-infectious-diseases
Becker, M.H. (1974). The health belief model and sick role behavior. In M. H. Becker (Ed.), The health belief model and personal health behavior. NJ: Charles B. Slack.
Creswell, J.W. (2009). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. Thousand Oaks: Sage.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297–334.
Ganta, V.C. (2014). Motivation in the workplace to improve the employee performace. International Journal of Engineering Technology, Management and Applied Sciences, 2(6), 221-230.
Gushlak, B.D., & Douglas, W.M. (2006). The basis principles of migration health: Population mobility and gaps in disease prevalence. Emerging Themes in Epidemiology, 3 (3).
Karimi, M., Ghofranipor, F. & Heidarnia, A. (2009). The effect of Health education based on health belief model on preventive actions of AIDS on addict in Zarandieh. Journal of Guilan University of Medical Sciences, 18 (70), 64-73.
MacPheson, D.W., Gushulak, B.D., & Macdonald, L. (2007). Health and foreign policy: influences of migration and population mobility. Bulletin of the World Health Organization, 85(3), 200-206.
Maslow, A.H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review, 50 (4), 370–96.
doi:10.1037/h0054346 – via psychclassics.yorku.ca.
Nawasanan Wongprasit. (2016). The study of Impact of Immigration-Worker on Public health: A case study in Sakaew Province, Thailand. Official Conference Proceeding the Asian Conference on the social science 2016. Art center Kobe, Japan. 177-186
NIBC. (2017). Understanding Emerging and Re-emerging Infectious Diseases. 17 January 2017.
Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK20370/
Raude, J., & Setbon, M. (2008).The role of environmental and individual factors in the social epidemiology of chikungunya disease on Mayotte Island. Health & Place, 15 (3), 689-699.
Strauss, A., & Corbin, J. (1998). Basics of qualitative research: Techniques and procedures for
developing grounded theory. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Sharma, S., Carballo, M., Feld, J. & Janssen, H. (2015). Immigration and viral hepatitis. Journal of Hepatology, 63, 515-522
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York : Harper and Row Publication.
World Health Organization. (2016). Emerging diseases. Retrieve from http://www.who.int/topics/emerging_diseases/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30