การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ฉัตรลดา ดีพร้อม สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • นิวัฒน์ วงศ์ใหญ่ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ, ความรู้, ทัศนคติ, การรับรู้โทษของการบริโภคปลาดิบ, พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ, โรคพยาธิใบไม้ตับ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง Quasi-Experimental Research วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ของผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด 26 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้านความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ เท่ากับ 0.74 แบบสอบถามด้านทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ เท่ากับ 0.70 แบบสอบถามด้านการรับรู้โทษของการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ เท่ากับ 0.73 แบบสอบถามด้านพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ เท่ากับ 0.76 โดยภาพรวมค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่า เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โทษของการบริโภคปลาดิบ และพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับเพื่อของผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้ Paired Sample t-Test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ในผู้ที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ด้านคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001) ด้านคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้โทษของการบริโภคปลาดิบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และด้านคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ข้อเสนอแนะ ควรมีการรณรงค์การตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับให้ต่อเนื่องในประชาชนกลุ่มเสี่ยง รวมถึงสร้างความตระหนักในการบริโภคปลาดิบ และมีการติดตามพฤติกรรมในด้านการบริโภคปลาดิบอย่างเป็นระบบพร้อมมีการบันทึกผลและการติดตามพฤติกรรมเป็นระยะโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเกิดความเกรงใจและให้ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

 

References

กรมควบคุมโรค. (2559). การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560, จาก
https://ddc.moph.go.th/index.php.
กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, นิรันตา ไชยพาน, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์ และนารีรมย์ รัตนสัมฤทธิ์. (2557).
การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ในชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ :แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
เพ็ญนภา คงศิลา, ศุภวิตา แสนศักดิ์ และจงกลณี ธนาไสย์. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้การป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับต่อความรู้และการรับรู้ภาวะสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเหล่า ตำบลหนองกุงศรี อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10 (2), 19-28.
มยุเรศ ห้วยทราย. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมการรับรู้การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนอำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2560, จาก 203.157.186.16/kmblog/fulltext/1467106832.docx.
มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี. (2560). สถิติและอุบัติการณ์การเกิดโรค. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2560, จาก https://cca.in.th/th/index.php/about-cca/key-stiatistics.
รัติยากร มะณี. (2558). พฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาลส่งสุขภาพตำบลบ้านบะเค อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
โรงพยาบาลธวัชบุรี. (2560). แบบผลการดำเนินการตรวจพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีโรงพยาบาลธวัชบุรีอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด : โรงพยาบาลธวัชบุรี.
ศุภกนก หันทยุง. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนบ้านเหล่าอ้อย หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว.วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10 (1), 40-57.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2558). เดินหน้าขจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับ. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2560, จาก www.kkpho.go.th.
สำนักระบาดวิทยา. (2558). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2560, จาก https://www.boe.moph.go.th.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2557). สถานการณ์โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี 2557. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2560, จาก https://www.epid101.net.
อรวรรณ แจ่มจันทร์ และคณะ. (2559). ความชุกของโรคหนอนพยาธิและพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่เสี่ยง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(1), 40.
Best. J.W. (1977). Research Education 3rd ed. Englewood Cliffs. New Jersey : Prentice Hall.
Bloom, B.S. (1997). Handbook on Formative and Sumative Evalvation of study of Learning. New York: David Mackey.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-17