การรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • จิราจันทร์ คณฑา Boromarajonani College of Nursing Sawanpracharak Nakhonsawan

คำสำคัญ:

การรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด, พฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด พฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ อายุ 14  ปี ขึ้นไป อายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ถึงก่อน 37 สัปดาห์ ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสวรรค์      ประชารักษ์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2557 โดยการสุ่มแบบง่าย จำนวน 206  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนด และพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดโดยรวมอยู่ในระดับสูง การรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดโดยรวม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.303 และ .297 ตามลำดับ) ผลการ วิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมหรือให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ให้มีการรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดที่ถูกต้อง เพื่อให้มีพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่เหมาะสม

References

ฉายวสันต์ จันทร์ชนะ. (2546). การรับรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและครอบครัว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทิพสุดา นุ้ยแม้น. (2554 ). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในหญิง
ตั้งครรภ์วัยรุ่นมุสลิม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธิติรัตน์ ราศิริ. (2557). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอฮอต จังหวัดเชียงใหม่
(รายงานผลการวิจัย). ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
ประไพรัตน์ แก้วศิริ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ (รายงานผลการวิจัย). นครพนม :วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม.
มะลิวรรณ หมื่นแก้วกล้าววิชิต. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม เจตคติ
ต่อการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด, มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรัญญา ชลธารกัมปนาท, ทิพวรรณ ลิ้มประไพพงษ์ และธนพร ศนีบุตร. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี (รายงานผลการวิจัย). จันทบุรี : โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.
เวชระเบียนโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. (2557). รายงานสถิติประจำปี. นครสวรรค์ :โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์.
สุธิดา สิงห์ศิริเจริญกุล. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร- มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Becker,M.K. (1990). Theoretical Models of Adherence and Strategies for Improving Adherence
In Shumake, S.A., Schron, E.B., & Ockene, J.K. (Eds.), The Handbook of Health Behavior Change. New York : Springer.
Best, J.W. (1997). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Daniels, P., Noe, F.G., & Mayberry, R. (2006). Barriers to prenatal care among black women of low socioeconomic status. American Journal of Health Behavior, 30,188–198.
Retrieved Feb 15, 2015, from https://www.ncbi.nlm. nih.gov
Goldenberg, R.L.(2002). The management of preterm labour. Obstretic & Gynaecology, 100,
(5 Pt 1), 1020-37.
Linsay, P. (2004). Preterm labour. In H. Christine & E. Sue (Eds.). Mayes is midwifery: A textbook for midwives. (13th ed.). Toronto :Baileieve Tindall.
Michael, S.K. et. al (2001). Socio-economic disparitics in preterm birth : Causal pathways and
mechanism. Pediatric and perinatal Epidermology, 15, 104-123.
Rosenstock, K.M. (1974). Historical original at the health belief model. Education Monograpy, 2, 328-335.
Rosenstock, I.M., Strecher, V., & Becker, M.H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health education quarterly, 15(2), 175-183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30