การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนายุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ.2560-2564

ผู้แต่ง

  • Woranuch Tasanabutr Mrs
  • อรนุช ประดับทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, บุคลากร, ยุทธศาสตร์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนายุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2560-2564 (2) ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2560-2564 (3) ความคิดเห็นต่อแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนายุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันพระบรมราชชนก (ส่วนกลาง) ทุกตำแหน่ง จำนวน 149 คน เก็บรวบรวมข้อมูลการมีส่วนร่วมโดยใช้แบบสอบถาม โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index : IOC) ได้ค่าคะแนนตั้งแต่ 0.67 ขึ้นไปทุกข้อ ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และเก็บข้อมูลความคิดเห็นต่อแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนายุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2560-2564 ในภาพรวมความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.71, SD = 0.82) เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดนั้นอยู่ในระดับปานกลาง คือ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (M = 2.96, SD = 0.86) รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (M = 2.79, SD = 0.88) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (M = 2.58, SD = 0.84) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (M = 2.52, SD = 0.88)
  2. ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนายุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ.2560-2564 พบว่า ระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.28, SD = 0.86) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับมากมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด (M = 3.34, SD = 0.82) รองลงมา ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในองค์กร (M = 3.21, SD = 0.84) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
  3. ความคิดเห็นต่อแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนายุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) การสร้างความตระหนักต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบ และความสำคัญของความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับต่อการพัฒนาองค์กร (2) การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในด้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (3) การสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรม และ (4) การพัฒนาระบบการสื่อสารในองค์กรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

References

กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์. สถาบันพระบรมราชชนก. (2561). แผนยุทธศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี :สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข.

นงเยาว์ ญาณปัญญา. (2556). การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายกองทุน กองคลัง สำนักพระราชวัง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยทองสุข.

วรรณา ตันทิวากร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 4(2), 160-181.

วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม. (2558). การรับรู้แผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ของพนักงานระดับปฏิบัติการ. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 2(2), 65-76.

ธัญพร ก้อยชูสกุล. (2554). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานวิจัยการค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภชา แก้วเกรียงไกร, กัลยาณี ประสมศรี, มณฑา ชาวโพธิ์ และรวิสรา รูปสวย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ของกรมชลประทาน. กรุงเทพฯ : กองแผนงาน, กรมชลประทาน.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 213-235.

Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B.B. (1993). The motivation to work. United State of America: Transaction Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-16