ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวัง ความเป็นจริงในการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าว
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, ความเป็นจริง, มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์, ผู้รับบริการต่างด้าวบทคัดย่อ
มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นหัวใจหลักของพยาบาลวิชาชีพโดยเฉพาะการดูแลด้านสุขภาพที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมของการให้การพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวัง ความเป็นจริงในการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าว กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้รับบริการต่างด้าวในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 152 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และกำหนดสัดส่วนตัวอย่างตามร้อยละของจำนวนตัวอย่างทั้งหมดตามสถานบริการสุขภาพที่พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 3 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความเป็นจริงในการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามเกี่ยวผลการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวัง ความเป็นจริงในการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความคาดหวังต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์อยู่ในระดับมาก (M= 4.03 SD =.41) คะแนนความเป็นจริงตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์อยู่ในระดับมาก (M= 3.53 SD =.33) คะแนนผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์อยู่ในระดับมาก (M= 3.97 SD =.39) และพบว่า ความคาดหวังมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .284 , p < .001) และความเป็นจริงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้รับบริการต่างด้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .384**, p < .001) ข้อเสนอแนะสำหรับสถานบริการสุขภาพควรมีแผนการพัฒนาสมรรถนะด้านมาตรฐานการพยาบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลให้สามารถให้บริการได้สอดคล้องตามความต้องการด้านบริการสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขีดความสามารถการดูแลผู้รับบริการที่มีความหลากหลายด้านภาษา ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม
References
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา; 2540.
สุกัญญา เพิ่มบุญ. ความคาดหวังและความเป็นจริงในการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
Hornby AS. Oxford Advanced Learner's Dictionary. London: Oxford University Press; 2000.
อรุณรัตน์ คันธา. ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย. Journal of Nursing Science 2557; 32:81-90.
สำนักการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์.ข้อมูลจังหวัดสุรินทร์ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 13 พ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://surinlocal.go.th/public/history/data/index/menu/22
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์.ข้อมูลหน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.surinpho.go.th/SPHO.
สุวารี เจริญมุขยนันท์ และคณะ. การศึกษาสถานการณ์การให้บริการสุขภาพกับชาวกัมพูชาที่ชายแดนไทย-กัมพูชา:กรณีศึกษา จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด. กรุงเทพมหานคร: สำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
Vroom, Victor H. Work and Motivation. New York: John Wiley and Sons; 1970.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, & Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007;39:175-91.
Faul F, Erdfelder E, Buchner A, & Lang AG. Statistical power analyses using G* Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods 2009;41:1149-60.
ชูศรี วงศ์รัตนะ.เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ; 2553.
นลินรัตน์ ทองนิรันดร์, ภูษิตา อินทรประสงค์และจรรยา ภัทรอาชาชัย.ความตั้งใจคงอยู่ในอาชีพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน เขต 1 ภาคกลาง ประเทศไทย.วารสารกองการพยาบาล 2558;42:69-83.
จิราภรณ์ กองจันทร์,กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติและไกรชิต สุตะเมือง.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลาออกของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลเวชธานี.วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ 2557;8:136-45.
Bessie LM, Carol JH. Leadership roles and management functions in nursing theory and application. 7th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2012. P.402-19.
กองเพชร อิ่มใจ.คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562;2:30-45.
นภสร อินสมตัวและภัครดา ฉายอรุณ.ความคาดหวังในคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนเมื่อเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร 2560;28:136-47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง