จริยธรรมการตีพิมพ์

Publication Ethics

มาตรฐานทางจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ถือเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารผลงานทางวิชาการที่นำเสนอเป็นข้อค้นพบใหม่ ๆ ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการให้แก่สังคมภายนอก ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในรูปแบบของบทความวิชาการ บทความวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและบทความกรณีศึกษา กองบรรณาธิการวารสารฯ ตระหนักถึงจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) ของผู้เขียนบทความ (Author) ผู้ประเมินบทความ (Reviewer) และบรรณาธิการ (Editor) และเพื่อให้การตีพิมพ์ถูกต้องตามหลักจริยธรรมและมีคุณภาพมาตรฐานรวมถึงมีความโปร่งใส จึงกำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) ของวารสารตามบทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Duties of Authors)

  1. ผู้นิพนธ์ผลงานต้องส่งบทความใหม่ บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
  2. ผู้นิพนธ์ผลงานที่ส่งบทความเข้าระบบ Online Submissions ของวารสารแล้ว ต้องไม่ส่งบทความไปยังวารสารอื่นอีก
  3. ผู้เขียนบทความต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  4. ผู้นิพนธ์ผลงานที่นำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความ ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น โดยจัดทำรายการอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนรายการอ้างอิง (Reference) ท้ายบทความ
  5. ข้อความที่ปรากฏในแต่ละบทความแต่ละเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง
  6. ผู้นิพนธ์ผลงานที่คัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง
  7. ผู้นิพนธ์ผลงานต้องเขียนบทความให้รูปแบบถูกต้องตามที่วารสารกำหนดไว้ใน “คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ”
  8. ผู้นิพนธ์ผลงานที่มีชื่อปรากฎในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
  9. ผู้นิพนธ์ผลงานที่ได้รับทุนสนับสนุนต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการทำวิจัยนี้ไว้ในส่วนกิตติกรรมประกาศ หรือ Acknowledgements
  10. ผู้เขียนบทความต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)

 

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

  1. พัฒนาปรับปรุงคุณภาพของวารสารอย่างสม่ำเสมอ
  2. รับรองคุณภาพของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร
  3. สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นคงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
  4. บรรณาธิการต้องปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
  5. บรรณาธิการต้องเต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัยหากมีความจำเป็น
  6. บรรณาธิการต้องให้ผู้เขียนแจ้งให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยหรือบทบาทของผู้ให้ทุนวิจัยในการทำวิจัยนั้นๆ
  7. หากบรรณาธิการรับรู้ความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว หรือมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือมีรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง ต้องแก้ไขให้ถูกต้องและชัดเจนทันที
  8. หากปรากฏการประพฤติทุจริตมิชอบใด ๆ ภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้ การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ทราบด้วย
  9. บรรณาธิการมีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการขัดกันด้านผลประโยชน์ ของบรรณาธิการเอง รวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้เขียนบทความ ผู้ประเมินบทความ และ กองบรรณาธิการ


บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมิน (Duties of Reviewers)

  1. พิจารณาประเมินคุณภาพบทความโดยวิธีลับ และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของบทความที่พิจารณาให้แก่บุคคลอื่น ๆ ทราบ
  2. ผู้ประเมินบทความสามารถปฏิเสธการประเมินบทความได้ หากพบผลประโยชน์ทับซ้อน หรือ
    เนื้อหาบทความไม่ตรงกับสาขาวิชาที่ผู้ประเมินมีความเชี่ยวชาญ
  3. ผู้ประเมินบทความควรให้ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องและเป็นประโยชน์ทางวิชาการ แก่ผู้เขียนบทความ
  4. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบว่าของบทความมีความเหมือน หรือซ้ำซ้อนในผลงานวิชาการชิ้นอี่น ๆ
  5. ผู้ประเมินให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้นิพนธ์ผลงาน หากมีงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินแต่ผู้นิพนธ์ยังไม่ได้อ้างถึง
  6. ผู้ประเมินบทความต้องส่งผลการประเมินตามระยะเวลาที่กำหนด หรือแจ้งบรรณาธิการกรณีที่ต้องการเลื่อนกำหนดการส่ง

 

นอกจากนี้วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ได้กำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการไว้ดังนี้

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ:

  1. ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณากลั่นกรองเนื้อหาของบทความร่วมกับกองบรรณาธิการให้ตรงตามความประสงค์ของผู้อ่านและผู้นิพนธ์
  2. ยอมรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความตามเกณฑ์ที่วารสารกำหนดโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว
  3. รักษามาตรฐานและปรับปรุงวารสารให้มีความทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ
  4. รับรองคุณภาพของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร
  5. สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ
  6. คงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
  7. ปกป้องความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการ และปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด
  8. เต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น

หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้อ่าน

  1. ควรแจ้งให้ผู้อ่านทราบเกี่ยวกับผู้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยและบทบาทของผู้ให้ทุนวิจัยในการทำวิจัยนั้นๆ

หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้นิพนธ์

  1. ดำเนินการให้ผู้นิพนธ์มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรองคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร
  2. ชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer review)
  3. มีช่องทางให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
  4. จัดพิมพ์คำแนะนำในการส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารให้แก่ผู้นิพนธ์ในทุกประเด็น ในทุกเรื่องที่ผู้นิพนธ์ควรทราบ และปรับปรุงคำแนะนำให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
  5. บรรณาธิการใหม่ไม่กลับคำตัดสินใจมาตีพิมพ์บทความที่บรรณาธิการคนก่อนตอบปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้น

หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ

  1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณารูปแบบ และคุณภาพของบทความ ก่อนเริ่มกระบวนการประเมินบทความ และจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้ประเมินบทความในทุกประเด็นที่บรรณาธิการคาดหวัง
  2. บรรณาธิการจะไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ ของผู้ประเมินบทความในระหว่างการประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความ ยกเว้นการประเมินบทความแบบเปิดที่ได้แจ้งให้ผู้นิพนธ์และผู้ประเมินรับทราบล่วงหน้าแล้ว
  3. บรรณาธิการจะต้องคัดเลือกผู้ประเมินบทความตามสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาเนื้อหาของบทความ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับ

กระบวนการพิจารณาประเมินบทความ

  1. บทความที่ส่งเข้ามายังวารสาร จะได้รับการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน
  2. ไม่แทรกแซงข้อมูลในระหว่างดำเนินกระบวนการพิจารณาบทความ
  3. ไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาการประเมินบทความ และผลประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ

การร้องเรียน

  1. บรรณาธิการจะดำเนินการตามขั้นตอนมาตรฐานด้านจริยธรรมการตีพิมพ์ ที่กำหนดไว้ในวารสาร
  2. หากมีการร้องเรียน บรรณาธิการต้องตอบกลับคำร้องเรียนในทันที และผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนได้อีกหากผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

การสนับสนุนการอภิปราย

  1. มีการเปิดเผยคำวิจารณ์บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ยกเว้นในกรณีที่บรรณาธิการมีเหตุผลหรือความจำเป็นอื่นเพียงพอต่อการไม่เปิดเผยคำวิจารณ์นั้น
  2. เปิดโอกาสให้ผู้นิพนธ์บทความที่มีคนอื่นวิจารณ์ ให้สามารถชี้แจงตอบกลับได้ นอกจากนี้การศึกษาวิจัยที่มีผลขัดแย้งกับบทความวิจัยที่ลงตีพิมพ์ไปแล้ว ก็ควรได้รับโอกาสนี้เช่นกัน
  3. ไม่ตัด หรือลบข้อความเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยที่มีการรายงานผลการวิจัยในด้านลบ

 สนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการ

  1. บทความวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสาร ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่เป็นที่ยอมรับ
  2. บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ ต้องได้รับการอนุมัติและเห็นชอบโดยคณะบุคคลที่มีอำนาจ (เช่น คณะกรรมการทางจริยธรรมการวิจัย คณะกรรมการพิจารณาบทความวิจัยของสถาบัน เป็นต้น)

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  1. ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับ (เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้และแพทย์ เป็นต้น) การเปิดเผยข้อมูลต้องมีหนังสือยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคนไข้ หากชื่อ หรือ รูปของคนไข้ปรากฏในรายงานหรือบทความ
  2. บรรณาธิการสามารถตีพิมพ์บทความได้โดยไม่ต้องมีเอกสารยินยอมหากบทความนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพของคนทั่วไป (หรือมีความสำคัญในบางเรื่อง) หรือมีความยากลำบากในการได้มาซึ่งเอกสารยินยอม และบุคคลผู้นั้นไม่คัดค้านต่อการตีพิมพ์เผยแพร่

การติดตามความประพฤติมิชอบ

  1. ติดตาม ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีที่บทความถูกกล่าวหาว่าประพฤติมิชอบ โดยไม่ปฏิเสธบทความที่มีประเด็นมิชอบในทันทีทันใด
  2. ดำเนินการตรวจสอบ หรือแสวงหาคำตอบจากผู้ถูกกล่าวหาก่อน หากยังไม่พอใจต่อคำตอบที่ได้รับให้สอบถามหัวหน้าหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นหน่วยงานที่ออกกฎระเบียบ) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง
  3. ดำเนินการตามข้อกำหนดในจริยธรรมการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด
  4. การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักเหตุผล โดยไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในบทความนั้นๆ

การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ

  1. เมื่อมีการรับรู้ว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว รวมถึงมีเนื้อหาบางส่วนที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขในทันที
  2. หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่สามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้การเพิกถอนบทความจะต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆทราบด้วย

ความสัมพันธ์กับเจ้าของวารสารและสำนักพิมพ์

  1. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการวารสารดำเนินการอยู่บนพื้นฐานความเป็นอิสระ การพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการรับบทความเพื่อตีพิมพ์ ยึดคุณภาพและความเหมาะสมกับผู้อ่านมากกว่าผลตอบแทนทางการเงินหรือการเมือง

ประเด็นพิจารณาที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณิชย์

  1. ไม่ตีพิมพ์การโฆษณาที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด
  2. การนำบทความเดิมมาพิมพ์ใหม่นั้น ต้องให้คงลักษณะเดิมทุกประการยกเว้นหากจะมีการเพิ่มเติมส่วนที่แก้ไข

ผลประโยชน์ทับซ้อน

  1. บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ หรืออื่นๆ ที่จะทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถประเมินและให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระได้

กระบวนการจัดการกับข้อร้องเรียนที่มีต่อบรรณาธิการที่มีการส่งมาให้คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์

  1. ข้อร้องเรียนของ ผู้นิพนธ์ ผู้อ่าน ผู้ประเมิน บรรณาธิการจะดำเนินการส่งให้คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์พิจารณา
  1. ขั้นตอนการร้องเรียน ต้องร้องเรียนไปที่บรรณาธิการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร หากข้อร้องเรียนไม่ได้รับการแก้ไขเป็นที่น่าพอใจ ก็สามารถยื่นข้อร้องเรียนนั้นต่อคณะกรรมการต้นสังกัดของบรรณาธิการได้
  2. ข้อร้องเรียนที่ผ่านขั้นตอนการร้องเรียนต่อวารสารเท่านั้นจึงจะสามารถส่งต่อมาที่คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ได้
  3. คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์รับข้อร้องเรียนและจะพิจารณาข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จโดยไม่ล่าช้า
  1. คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์จะไม่พิจารณาการร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหาของการตัดสินตีพิมพ์บทความของบรรณาธิการ (แต่จะพิจารณากระบวนการ)  หรือข้อวิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาในบทบรรณาธิการ
  2. คณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์จะไม่พิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าการเผยแพร่เอกสารมาตรฐานทางจริยธรรมนี้