การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถาบันบำราศนราดูร ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานโรคโควิด 19 ศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณของระบบเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ของสถาบันบำราศนราดูร ได้แก่ ค่าความไว ค่าพยากรณ์บวก ความทันเวลา คุณภาพของข้อมูลและความเป็นตัวแทน ศึกษาการนำไปใช้ประโยชน์ และคุณลักษณะเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ได้แก่ การยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความมั่นคงของระบบ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรคโควิด 19 ของสถาบันบำราศนราดูร โดยศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) และศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Study) ทบทวนเวชระเบียนตามแบบรายงานผู้ป่วยที่เข้าข่ายนิยามการรายงาน คือผู้ป่วยสงสัยที่มีผลตรวจด้วยวิธี Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลบวก ทบทวนแนวทางการเฝ้าระวังโรค และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ และใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า จากการทบทวนเวชระเบียนจำนวน 1,025 ราย พบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ตรงตามนิยามและรายงานในระบบเฝ้าระวัง จำนวน 582 ราย ผู้ป่วยไม่เข้าเกณฑ์ตามนิยามและรายงาน จำนวน 168 ราย ประเมินความไว ร้อยละ 87.16 ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565 มีข้อมูลที่รายงานทันเวลาภายใน 3 ชั่วโมง ร้อยละ 100 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 70.93 ความถูกต้องของข้อมูล จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ วันเริ่มป่วย คิดเป็นร้อยละ 99.56, 99.56 และ 13.00 ตามลำดับ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน 2565 มีข้อมูลที่รายงานทันเวลาภายใน 7 วัน ร้อยละ 97.07 ค่าพยากรณ์บวกอยู่ในระดับสูงร้อยละ 92.31 โดยสถาบันบำราศนราดูรมีความไวของการรายงานอย่างมาก เนื่องจากมีผู้ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรค ข้อเสนอแนะให้หน่วยบริการควรร่วมกันเฝ้าระวังโรคโควิด 19 โดยสนับสนุนเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้งานง่าย ทันเวลาต่อการวิเคราะห์ วางแผน ดำเนินงานจัดการควบคุมโรคไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด
Article Details
References
Department of Disease Control, Ministry of Public Health.Guidelines for disease investigation and control of the outbreak of coronavirus disease 2019 during the transition period to a communicable disease that requires surveillance. [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 15]; Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_011065.pdf (in Thai)
Health System Research Institute. Evaluation of Acute respiratory infections (ARI) Clinics for COVID-19 treatment and infection control in Ramathibodi Hospital [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 15]; Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5550 (in Thai)
Ajin Songthap. Epidemiological studies. [Internet]. 2021 [cited 2022 Nov 28]; Available from: https://www.nupress.grad.nu.ac.th/ระบาดวิทยา/#5- (in Thai)
Department of Medical Services, Ministry of Public Health.Guidelines for medical practice, diagnosis, care, and prevention of hospital-based infections. Cases of coronavirus disease 2019 (COVID-19), updated on July 11, 2022, for doctors and public health personnel. [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 28]; Available from: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650712140709PM_CPG_COVID-19_v.24.1.n_20220711.pdf (in Thai)
Somrak Sirikhetkon. Evaluation of the Coronavirus Disease 2019 Surveillance System in Bangkok.TJPHE. 2022; 2:34-48. (in Thai)
Suthachana S, Narueponjirakul U, Nalam P, Thongsom P. An evaluation of coronavirus disease 2019 (COVID-19) surveillance system, Nopparat Ratchathani Hospital, Thailand, 10 January–30 April 2020. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2021; 52: 1–9. (in Thai)