ภาวะสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ช่วงสถานการณ์ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (COVID-19) ในสถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

อนงค์นุช สุจิรารัตน์
ภณศา วงศาศิริภัทร
เจริญสุข อัศวพิพิธ
ไกรณญา เมธานวกิจไพศาล
วรรณรัตน์ พงศ์พิรุฬห์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นแบบภาคตัดขวาง Cross- sectional study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของบุคลากรในสถาบันบำราศนราดูรจากฐานข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 811 รายที่มาตรวจสุขภาพปีงบประมาณ 2564 ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวน ร้อยละ วิเคราะห์ด้วยสถิติอนุมาณด้วยไค-สแควร์ และ Multiple logistic regression analysis


     ผลวิจัยพบว่า พบสัดส่วนบุคลากรเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีเพศหญิงร้อยละ 78.5 อายุเฉลี่ยของบุคลากรประมาณ 42±10.99 ปี (Min-Max=20-72) พฤติกรรมสุขภาพส่วนใหญ่ไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ร้อยละ 84.2 ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 94.5 และ 84.3 ตามลำดับ มีการใช้ยาประจำร้อยละ 33.2 พบความชุกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ร้อยละ 81.6 พบความชุกที่มากที่สุด 3 อันดับแรก คือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูงมีความชุกร้อยละ 57.0 46.9 และ 43.0 ตามลำดับ มีภาวะท้วมและอ้วนร้อยละ 61.7 ภาวะความเครียดระดับปานกลางและรุนแรงร้อยละ 32.6 ปวดกล้ามเนื้อส่วนคอและหลังร้อยละ 47.1 สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์กับ NCDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ เพศ อายุ และBMI โดยบุคลากรเพศหญิงมีโอกาสป่วยเป็น NCDs มากกว่าเพศชาย 1.83 เท่ากับ (95% CI 1.21-2.77) บุคลากรที่มีอายุ≥ 40 ปี มีโอกาสป่วยเป็น NCDs 1.69 เท่ากับ (95% CI 1.17-2.45) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า และบุคลากรที่มีระดับดัชนีมวลกาย >30 kg/m2 มีโอกาสป่วยเป็น NCDs 2.21 เท่ากับ (95% CI 1.13-4.31) บุคลากรที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานสามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ร้อยละ 57.37 ส่วนบุคลากรที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตและไขมันได้ร้อยละ 49.78 และ 34.38 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
สุจิรารัตน์ อ., วงศาศิริภัทร ภ., อัศวพิพิธ เ., เมธานวกิจไพศาล ไ., & พงศ์พิรุฬห์ ว. (2024). ภาวะสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ช่วงสถานการณ์ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (COVID-19) ในสถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 18(3), 132–142. https://doi.org/10.14456/jbidi.2024.13
บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [internet]. 2022 [cited 2022 may 5]. Available from: https://covid19.who.int/ (in Thai)

News operations center Coronavirus disease 2019, Ministry of Public Health. Coronavirus disease that was discovered in 2019 [internet]. 2022 [cited 2022 may 10]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/news/news_red068_040363.pdf (in Thai)

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley and Sons; 1995.

Tanetkongtong N, Kankhwao P. Health status in the situation of a coronavirus 2019 pandemic (COVID-19) among Chum Phae hospital personnel, Khon Kaen province. Journal of Health and Environmental Education [Internet]. 2020 [cited 2024 Feb. 12]; 5(4): 1-9. Available from: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/252868 (in Thai)

Sharma S, Anand T, Dey B, Ingle G, Kishore J. Prevalence of modifiable and non-modifiable risk factors and lifestyle disorders among health care professionals. Astrocyte 2014; 1(3): 178-185.

Reddy MM, Zaman K, Yadav R, Yadav P, Kumar K, Kant R. Prevalence, Associated Factors, and Health Expenditures of Noncommunicable Disease Multimorbidity-Findings From Gorakhpur Health and Demographic Surveillance System. Front Public Health 2022; 10: 842561. doi: 10.3389/fpubh.2022.842561.

Kayaroganam R, Sarkar S, Satheesh S, Tamilmani S, Sivanantham P, Kar SS. Profile of Non-communicable disease risk factors among nurses in a tertiary care hospital in South India. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurs Sci). 2022: S1976-1317(22)00035-4. doi: 10.1016/j.anr.2022.07.001.

Syed MA, Alnuaimi AS, Zainel AJ, et a. lPrevalence of non-communicable diseases by age, gender and nationality in publicly funded primary care settings in QatarBMJ Nutrition, Prevention & Health 2019; 2: 20–29bmjnph-2018-000014. doi: 10.1136/bmjnph-2018-000014.

Katarzyna Zatonska, Piotr Psikus, Alicja Basiak-Rasata, Zuzanna Stepnicka, Dagmara Gaweł-D abrowska, Maria Wołyniec, Julia Gibka, Andrzej Szuba and Katarzyna Połtyn-Zaradna. Obesity and Chosen Non-Communicable Diseases in PURE Poland Cohort Study. Int. J. Environ. Res. Public Health 2021, 18, 2701. https://doi.org/10.3390/ijerph18052701

Ghaus S, Ahsan T, Sohail E, Erum U, Aijaz W. Burden of Elevated Body Mass Index and Its Association With Non-Communicable Diseases in Patients Presenting to an Endocrinology Clinic. Cureus. 2021; 13(2): e13471. doi: 10.7759/cureus.13471.