ประสิทธิผลของการใช้แนวทาง Hemovigilance ในการป้องกันให้เลือดผิดหมู่ ผิดคน เพื่อความปลอดภัยในการให้เลือดผู้ป่วยในสถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

สุภาพร วงศ์โสภา
สุภาวรรณ หังใจดี
ภูมฤทธิ์ อัศวสุปรีชา

บทคัดย่อ

      การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวทาง Hemovigilance ในการป้องกัน การให้เลือดผิดหมู่ ผิดคนเพื่อความปลอดภัยในการให้เลือดในสถาบันบำราศนราดูร ดำเนินการโดยเก็บข้อมูลจำนวนการเกิดอุบัติการณ์ การเกิดปฏิกิริยาหลังการให้เลือด ส่วนประกอบของเลือด และข้อมูลตัวชี้วัดกระบวนการดำเนินงานของงานคลังเลือด สถาบันบำราศนราดูร แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1) ก่อนนำแนวทาง Hemovigilance1 มาใช้ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2557 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 2) ระหว่างการนำแนวทาง Hemovigilance มาใช้ ในกระบวนการทำงานช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2562 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 3) ข้อมูลติดตามระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ.2566 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2566
      จากการศึกษาข้อมูล พบว่า ผลการศึกษาทั้ง 3 ช่วงเป็นดังนี้ เจาะเลือดผิดคน 2, 0, 0 ครั้ง ความผิดพลาดของการแจ้งหมู่เลือดในเวชระเบียนไม่ตรงกับการตรวจของห้องปฏิบัติการ 5, 3, 1 ครั้ง ความผิดพลาดในกระบวนการรับเข้าเลือดและส่วนประกอบของเลือดเข้าคลัง 12, 2, 0 ครั้ง จำนวนครั้งที่ตรวจพบการระบุหมู่เลือดผิดพลาดจากถุงเลือดผู้บริจาค 0, 0, 0 ครั้ง เลือดหมดอายุ 235, 83, 16 ยูนิต กระบวนการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดพลาด 4, 2, 0 การจ่ายเลือดผิดพลาด 2, 1, 0 ครั้ง การให้เลือดผิดคน 0, 0, 0 ครั้ง การให้เลือดผิดชนิด 0, 0, 0 ครั้ง อาการไม่พึงประสงค์หลังการรับเลือดและส่วนประกอบของเลือด 24, 13, 7 ครั้ง ส่วน การควบคุมอุณหภูมิระหว่างขนส่งเลือดไม่ถูกต้อง (Blood cold chain) และผลตรวจหมู่เลือดซ้ำก่อนการรับเลือดไม่ตรงกับผลหมู่เลือด ช่วงก่อนนำแนวทาง Hemovigilance มาใช้ไม่ได้ดำเนินการ มีข้อมูลคือ ไม่ได้ดำเนินการ, 8, 1 ครั้ง และไม่ได้ดำเนินการ, 0, 0 ครั้งตามลำดับ
     จากผลการศึกษาข้อมูล งานคลังเลือดได้นำมาพัฒนา ปรับปรุงแนวทางการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ เพื่อนำแนวทาง Hemovigilance มาใช้ดำเนินงานในสถาบันบำราศนราดูร ส่งเสริมให้สถาบันฯ สามารถเป็นหน่วยเครือข่ายของการรายงานการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้โลหิตระดับชาติ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดที่ปลอดภัยของประเทศต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Guideline on Hemovigilance. 2nd ed. Bangkok: Udomsuksa; 2023.

National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Thai Hemovigilance Report 2015 - 2018. Bangkok: Udomsuksa; 2023.

National Blood Centre, Thai Red Cross Society. The Appropriate Use of Blood and Blood Components. 2nd ed. Bangkok: Pimnapat; 2023.

Supaporn Wongsopa. Quality Procedure 2nd ed.; Transfusion at Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. Nonthaburi; 2022 Contract No. QP-MTR-28. Sponsored by Clinical Laboratory of Bamrasnaradura infectious disease institute.

Supawan Hangjaidee. Work Instruction; Requesting blood from the National Blood Center 4th ed. Nonthaburi; 2022 Contract No. WI-LBB-01-005. Sponsored by Clinical Laboratory of Bamrasnaradura infectious disease institute.

Supawan Hangjaidee. Work Instruction; Requesting blood from other hospitals 6 th ed. Nonthaburi; 2002 Contract No. WI-LBB-01-007. Sponsored by Clinical Laboratory of Bamrasnaradura infectious disease institute.

Supaporn Wongsopa. Work Instruction; Blood Group Test 8 th ed. Nonthaburi; 2002. Contract No. WI-LBB-01-002. Sponsored by Clinical Laboratory of Bamrasnaradura infectious disease institute.

National Blood Centre, Thai Red Cross Society. Standards for Blood Bank and Transfusion Services. 4th ed. Bangkok: Udomsuksa; 2015.

Gray A, Illingworth J. Right blood, right patient, right time: RCN guidance for improving transfusion practice. London: Royal College of Nursing 20 Cavendish Square; 2004.

Kurata Y. Report on ABO-incompatible transfusion and the measure how to prevent it in Program and Abstacts of “Transfusion 2000” An International Symposium of Blood Transfusion into the New Millennium, Fukuoka/ Hakata, Japan November 18-20, 1999; 64.