ผลการให้บริการปรึกษาเพื่อชวนคู่ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี มาตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

อารี รามโกมุท
ฐิติกานต์ กาลเทศ

บทคัดย่อ

     โรคที่สามารถแพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัสหลายชนิดสามารถติดต่อได้รวดเร็ว เกิดการแพร่กระจายไปสู่ครอบครัวและคนรอบข้างได้ง่าย การให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัสต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่กำลังดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคที่แพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัสในโรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 จำนวน 46 ราย คัดเลือกเข้าร่วมการวิจัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 ราย กลุ่มทดลองได้รับความรู้จากการชมสื่อวีดิทัศน์ กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ด้วยวิธีปกติตามมาตรฐานของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อวีดิทัศน์เรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัส แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัส และแบบบันทึกการสังเกต โดยมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา Independent t-test และ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มทดลองที่ได้รับข้อมูลโดยชมสื่อวีดิทัศน์มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัสสูงกว่าผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมีคะแนนการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัสสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
       ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวิดีทัศน์ส่งผลให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางการสัมผัสถูกต้องเพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยและญาติได้

Article Details

How to Cite
รามโกมุท อ., & กาลเทศ ฐ. (2024). ผลการให้บริการปรึกษาเพื่อชวนคู่ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี มาตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี สถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 18(2), 124–131. https://doi.org/10.14456/jbidi.2024.12
บท
บทความวิจัย

References

AIDS Control Division, Department of Health, Bangkok. Strategic Plan for Ending AIDS in Bangkok 2017 – 2030. Bangkok: AIDS Control Division, Department of Health, Bangkok; 2017. (in Thai)

Division of AIDS and STIs. Department of Disease Control. Thailand index partner testing guideline 2021. Nonthaburi: Department of disease Control (TH); 2021. (in Thai)

Eumkep P. The development of a couple counseling model for blood testing Anti–HIV. NURS HEALTH & amp; PUB J [Internet]. 2023 Apr. 4 [cited 2024 Aug. 9];2(1):29-51. Available from: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/473

Chautrakarn S, Khamros W. HIV Testing Awareness and Behavior in a Men Who Have Sex with Men Group in Bangkok. J Public Health 2016; 46(3): 211-222.

Dangkrachang K, Srisuriyawat R, Homsin P. Predictors of HIV Testing Intention for the First Time among Male University Students Who Have Sex With Men. JFONUBUU [Internet]. 2019 Aug. 27 [cited 2024 Aug. 9];27(2):1-10. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Nubuu/article/view/212084