สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

ประภัสสร ดาราทิพย์
มาสริน ศุกลปักษ์
ณิชาภา ยนจอหอ

บทคัดย่อ

            สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ ยุ่งยาก และซับซ้อน ดังนั้นสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทการเกิดโรคระบาด       


          การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานโดยตรงกับผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สถาบันบำราศนราดูร จำนวน 120 คน สุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพัฒนาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร่วมกับประยุกต์แนวคิดสมรรถนะของ Spencer & Spencer ได้แบบสอบถามจำนวน 36 ข้อ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าความตรงระหว่าง .67 – 1.00 และความเชื่อมั่นตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค 0.971 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ


          ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านการพยาบาลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สถาบันบำราศนราดูร ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 5 ด้าน และองค์ประกอบย่อย 36 องค์ประกอบ มีค่าความแปรปรวนรวมคิดเป็นร้อยละ 71.664 โดยแต่ละองค์ประกอบอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 18.216 16.287 13.915 11.916 11.329 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์พบว่าองค์ประกอบที่ 1 สมรรถนะด้านความรู้การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีร้อยละความแปรปรวนมากที่สุด แสดงว่า ในสถานการณ์ของการเกิดโรคอุบัติใหม่ พยาบาลต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะปฏิบัติ ตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของหน่วยงานเป็นอันดับแรกและมากที่สุด


ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการจัดโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะสมสำหรับพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Su CW, Dai K, Ullah S, Andlib Z. COVID-19 pandemic and unemployment dynamics in European economies. Economic Research-Ekonomska Istraživanja. 2022 Dec 31; 35(1): 1752-64.

Štreimikienė D, Baležentis T, Volkov A, Ribašauskienė E, Morkūnas M, Žičkienė A. Negative effects of covid-19 pandemic on agriculture: systematic literature review in the frameworks of vulnerability, resilience and risks involved. Economic Research-Ekonomska Istraživanja. 2022 Dec 31; 35(1): 529-45.

Yüksel Bayraktar, Ayfer Özyılmaz, Metin Toprak, Esme Işık, Figen Büyükakın & Mehmet Fırat Olgun (2021) Role of the Health System in Combating Covid-19: Cross-Section Analysis and Artificial Neural Network Simulation for 124 Country Cases, Social Work in Public Health, 36:2, 178-193, DOI: 10.1080/19371918.2020.1856750

Nursing Department, Bamrasnaradura Infectious Disease Institute. Report of nursing supervision results in 2020. Unpublished Material. (in Thai)

Nursing Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. 'Nursing Division' prepares manpower management plan 'Nurses-reinforcement' take care of 'COVID-19' patients [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 28]. Available from: https://www.hfocus.org/content/2020/03/18789 (in Thai)

Saenprasarn P, Panichyanuson U, Thadsri L, Charoensit S, Sakornchaipitak P, Prinyawat M, et al. Nursing management to learning. 3th ed. Bangkok: Sukhumvit Printing; 2010. (in Thai)

Thailand Nursing and Midwifery Council Ministry of Public Health. Announcement of Thailand Nursing and Midwifery Council: Core competencies of graduate bachelor degree master's degree doctor degrees of Nursing Science. Board Certified Training Program and obtain a qualification/ acquire approval letter of knowledge and specialize field of expertise in Nursing and Midwifery and Program of Nursing Specialty in Nursing Science [Internet]. 2018 [cited 2021 Aug 2]. Available from: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/004.pdf (in Thai)

Niyomwit K. Competency of Infectious Control Ward Nurse [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2013. (in Thai)

Murphy DM, Hanchett M, Olmsted RN, Farber MR, Lee TB, Haas JP, et al. Competency in infection prevention: a conceptual approach to guide current and future practice. AJIC 2012 May; 40(4): 296-303. doi: 10.1016/j.ajic.2012.03.002

Sungkeaw S. Registered Nurses’ Competency in Caring for Emerging Infectious Diseases [dissertation]. Bangkok: Thammasat University; 2020. (in Thai)

Toprasert T. Competency of nurse in emerging infectious disease care, Bamrasnaradura Infectious Disease Institute. J. Bamrasnaradura Infect. Dis. Inst. [Internet]. 2021 [cited 2021 Feb 12]; 15(1): 25-36. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bamrasjournal/article/view/243272/168863 (in Thai)

Spencer L, Spencer S. Competency at work: Modelsfor superior performance. New York: John Wiley and Sons; 1993.

Hair J, Black W, Babin B, Anderson R, Tatham R. Multivariate data analysis (6th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall; 2006.

American Association of Colleges of Nursing. The Essential of Master’s Education in Nursing [Internet]. March 21, 2011 [cited 2022 Aug 12]). Available from: https://www.aacnnursing.org/portals/42/publications/mastersessentials11.pdf

Thailand Nursing and Midwifery Council. Competency in nursing and midwifery. February 23, 2018 [cited 2022 Aug 15]). Available from: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/004.pdf