การบริหารจัดการห้องปฏิบัติการสถาบันบำราศนราดูรในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

Main Article Content

ภาวิตา สุวรรณวัฒนะ

บทคัดย่อ

                 ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ระบาดทั่วโลกและตรวจพบในประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม 2563 จนถึงปัจจุบันซึ่งได้ขยายวงกว้างการระบาดและพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลให้สถาบันบำราศนราดูรมีภารกิจต้องรับผู้ป่วยติดเชื้อก่อโรค โควิด-19 เข้ารับการรักษา และห้องปฏิบัติการ      กลุ่มปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ สถาบันบำราศนราดูร มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง      ส่งตรวจจากผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่มารับบริการที่สถาบันบำราศนราดูรและตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างจากเครือข่ายที่เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคให้ทันต่อสถานการณ์ได้อย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการจะมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและการปฏิบัติงานต้องมีความปลอดภัยทั้งบุคลากรและสิ่งแวดล้อม การวางแผนทางห้องปฏิบัติการสำหรับเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการระบาดวงกว้างและกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน โดยใช้หลักการบริหารจัดการในองค์กรด้วยหลัก 4 Ms และนำมาปรับใช้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วย คน (Man) วัสดุ (Material) เงิน (Money) และ การจัดการ (Management) โดยมีการดำเนินการในแผนปฏิบัติการเพื่อให้การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมีประสิทธิภาพและปลอดภัย


                ผลการศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ สถาบันบำราศนราดูร ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ให้มีความปลอดภัยและตอบสนองการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค พบว่ามีความเสี่ยงก่อนและหลังการแก้ไขปัญหาดังนี้ ด้านบุคลากรห้องปฏิบัติการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19   0/0 ราย บุคลากรไม่เพียงพอ 10/0 ครั้ง บุคลากรเครียดเกิดจนเกิดปัญหาความขัดแย้ง ร้อยละ 10/1 ครั้งการตรวจรับตัวอย่างผิดพลาดร้อยละ 150/2 ราย การรายงานผลผิดพลาด 5/0 ราย ปริมาณการส่งตรวจเกินศักยภาพเครื่องมือและเจ้าหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ทำให้รายงานผลล่าช้า 2/0 ครั้ง วัสดุอุปกรณ์น้ำยาไม่เพียงพอ 4/0 ครั้ง เครื่องมือและอุปกรณ์ชำรุดจนหยุดให้บริการ 0/0 ครั้ง ระบบสารสนเทศขัดข้อง 4/0 ครั้ง


                จากการศึกษาพบว่าหลังการดำเนินการแก้ไขและป้องการเกิดความเสี่ยงทางห้องปฏิบัติการ สามารถลดความเสี่ยงให้ลดลงจนอยู่ในสถานะยอมรับได้ทั้งความเสี่ยงด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการตัวอย่าง ด้านการตรวจวิเคราะห์ ด้านการบริหารจัดการด้านน้ำยาวัสดุอุปกรณ์และระบบสารสนเทศ รวมถึงมีระบบการติดตามประเมินผลเป็นระยะเพื่อป้องกันและค้นหาผลกระทบหรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมาบริหารจัดการเพื่อให้การปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการของสถาบันบำราศนราดูรมีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Organization WH. COVID-19 weekly epidemiological update. 2020.

Li J-PO, Shantha J, Wong TY, Wong EY, Mehta J, Lin H, et al. Preparedness among ophthalmologists: during and beyond the COVID-19 pandemic. Ophthalmology. 2020;127(5):569-72.

Karthik K, Babu RPA, Dhama K, Chitra MA, Kalaiselvi G, Senthilkumar TMA, et al. Biosafety concerns during the collection, transportation, and processing of COVID-19 samples for diagnosis. Archives of Medical Research. 2020.

Nichols J. CLSI EP23: Laboratory quality control based on risk management. 2010.

Younes N, Al-Sadeq DW, Al-Jighefee H, Younes S, Al-Jamal O, Daas HI, et al. Challenges in laboratory diagnosis of the novel coronavirus SARS-CoV-2. Viruses. 2020;12(6):582.

Lippi G, Plebani M. The critical role of laboratory medicine during Corona virus disease 2019 (COVID-19) and other viral outbreaks. Clin Chem Lab Med. 2020;58(7):1063–9. https://doi.org/10.1515/cclm-2020-0240.

International Organization for Standardization. ISO 15189 Medical Laboratories-Particular requirements for quality and competence. 2nd ed. Switzerland: 2012.

International Organization for Standardization. ISO 15190 Medical laboratories- Requirements for safety.

World Health Organization. Laboratory Quality Standards and their Implementation. India; 2011.

Office of Policy and Strategy. Ministry of Public Health. Health Service Agency Code Standards Manual. Bangkok : Office of Publishing Affairs of the War Veterans Organization ; 2013.

Vongsheree S. editors. Guideline for quality and competence development complying to international standard. Nontaburi: Medical laboratories-requiements for safety; 2556

World Health Organization. (‎2020)‎. Laboratory biosafety guidance related to coronavirus disease 2019 (‎COVID-19)‎: interim guidance, 12 February 2020. World Health Organization. https://apps.who.int/iris/handle/10665/331138. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO

Özsahin A, Demir M, Zencir M, et al. Safety awareness among laboratory

workers. Adv Therapy. 2006; 23:414–20.