การปฏิบัติตนและแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ของประชาชนชาติพันธุ์ ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษkพฤติกรรมการปฏิบัติตน และศึกษาแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนชาติพันธุ์ที่มีอายุ 15-60 ปี โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ผู้นำชุมชน บุคลากรทางการศึกษา บุคลากรทางสาธารณสุข และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 16 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และประเด็นการสนทนากลุ่มแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 เป็นแนวคำถามปลายเปิดที่สามารถปรับได้ตามบริบทของพื้นที่ที่ศึกษา มีการตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาด้วยการบรรยายและพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการปฏิบัติตนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 โดยรวม อยู่ในระดับสูง( =3.75 S.D.=0.98) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความอดทน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =3.80 SD =0.96) รองลงมา คือ ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ( =3.77 SD =1.04) ด้านการปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคม ( =3.75 SD=0.98) และด้านความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( =3.70 SD =0.94) ตามลำดับ ส่วนแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน พบว่า ในระดับบุคคล ได้แก่ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อโรคโควิด 19 และการมีวินัยในตนเองเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ในระดับครอบครัว ประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันภายในบ้าน และการให้กำลังใจซึ่งกันและกันในครอบครัว และในระดับชุมชน คือ การสร้างชุมชนปลอดภัย การสร้างความเข้าใจและการสื่อสารเชิงบวก
Article Details
References
BBC News Thai. Coronavirus: sources, symptoms, treatment and prevention of COVID-19 [Internet]. 2020 [cited 2020 April 26]. Available from: https://www.bbc.com/thai/features-51734255 (in Thai)
Wikipedia. The pandemic of the coronavirus in Thailand 2010 [Internet]. 2020 [cited 2020 April 26]. Available from: https://th.wikipedia.org/wiki/การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทยพ.ศ.2563 (in Thai)
Pa Tueng Subdistrict Administrative Organization. General information of Pa Tueng Subdistrict Administrative Organization [Internet]. 2021 [cited 2021 Jan 26]. Available from: http://patueng.go.th/main.php?type=1 (in Thai)
Chiang Rai Provincial Office of Tourism and Sports. Orders, measures to control the spread of dangerous communicable diseases in the local area Ban Pang Phak Hi (Sub village) Moo 12 Pateung Sub-district, Maechan District, Chiang Rai Province [Internet]. 2021 [cited 2021 July 9]. Available from: https://chiangrai.mots.go.th/news_view.php?nid=1207 (in Thai)
Wongrattana C. Techniques for using statistics for research. Bangkok: Faculty of Education, Srinakharinwirot University; 2007 (in Thai)
Srisatidnarakul B. Development and Validation of Research Instrument: Psychometric Properties. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House; 2012 (in Thai)
Klinhom E. The Study of Knowledge, Attitude, and Behavior of the Waste Management of People in the Area of Janjawa Municipality, Mae Chan District, Chiangrai Province [dissertation]. Chiang Rai Rajabhat University; 2010 (in Thai)
Sommang K. Factors Related to Influenza Preventive Behavior Among Patients at Outpatient Department, King Narai Hospital. Journal Health Educational 2014; 37(126): 8-21 (in Thai)
Glomjai T, Kaewjiboon J, Chachvarat T. Knowledge and Behavior of People regarding Self-care Prevention from Novel Coronavirus 2019 (COVID-19). Journal of Nursing, Public Health, and Education 2020; 21(2): 29-39 (in Thai)
Laemthaisong J. Factor influencing on preventive behaviors of respiratory Tract infections among caregivers of preschool aged children in childcare center, bangkok metropolitan. Journal of Public Health Nursing 2019; 33(1): 1-19 (in Thai)