ผลของโปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านต่อพฤติกรรมการดูแลทารกและน้ำหนักตัวทารกที่เกิดก่อนกำหนด

Main Article Content

จิดาภา พิกุลงาม
นฤมล ธีระรังสิกุล
ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์

บทคัดย่อ

     มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมักรู้สึกไม่พร้อม วิตกกังวล และไม่มั่นใจในการดูแลทารกในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมการดูแลทารก และน้ำหนักตัวทารกไม่เพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านต่อพฤติกรรมการดูแลทารกและน้ำหนักทารกที่เกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรก และทารกเกิดก่อนกำหนดที่ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 30 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด โดยจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่าน ก่อนจำหน่ายทารก 1 สัปดาห์ ทั้งหมด 8 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่าน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .88 และค่าความเชื่อมั่น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบ
ค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดสูงกว่ามารดากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และผลต่างค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวของทารก หลังจำหน่าย 1 เดือน ระหว่างทารกกลุ่มควบคุมและทารกกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( p >.05) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่าน ทำให้มารดามีพฤติกรรม การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่บ้านถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ควรนำโปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านไปประยุกต์ใช้ในการให้การพยาบาลมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Office of Policy and Strategic Planning Office of the Permanent Secretary Ministry of Public. Public health statistics. Bangkok: Sam Charoen Panit; 2017. (in Thai)

World Health Organization. Preterm birth [internet]. 2016 [cited 2012 May 18]. Available from: http://www.who.int/factsheets/fs363/en/

Division of Information Center, Institute Research and Information Thammasat University Hospital. Situation of Preterm infants 2015-2017. Pathumthani; Thammasat University; 2017. (in Thai)

Hockenberry MJ, Wilson D. Wong’s nursing care of infants and children. 9th ed. St. Louis: Mosby; 2011.

Teerarungsikul N. The lived Experience of Mothers with Preterm Babies. Journal of Nursing and Education 2013; 5(1): 25-39. (in Thai)

Boykova M, Kenner C. Transition from hospital to home for parents of preterm infants. Int J Perinatal & Neonatal Nursing 2012; 26(1): 81-87.

Meleis AI, Sawyer LM, Im EO, Messias DKH, Schumacher K. Experiencing transitions: An emerging middle-range theory. Int J Advances in Nursing Science 2000; 23(1): 12-28.

Inta N, Kantaroat K, Dasri P. Predicting Factors of Readiness for Hospital Discharge among Parent of Premature Infants in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital Nursing and Health Care j 2018; 36(1): 52-60. (in Thai)

Weiss M, Johnson NL, Malin S, Jerofky T, Lang C, Sherburne E. Readiness for discharge in parents of hospitalized children. Int J Pediatric Nursing 2017; 23(4): 282-295.

Wangruangsatid R, Srisuphan W, Picheansathian W, Yenbut J. Effect of a transition care program on premature infants and their mothers. J Pacific Rim International of Nursing Research Inst 2012; 16(4): 294-312. (in Thai)

Srilamai N, Teerarungsikul N. Effectiveness of Maternal Perceived Self-Efficacy Enhancement Program on Caring for Preterm Babies. Nursing and Education j 2015; 8(2): 84-94. (in Thai)

Sakdajiwacharoan V. The Effect of Discharge Planning Program on Premature Infant Care Behavior of Mothers [Master of Nursing Science Thesis, Pediatric Nursing, Faculty of Nursing]. Bankok: Chulalongkorn University; 2010. (in Thai)

American Academy of Pediatrics. Hospital discharge of high risk neonate. Int Pediatrics 2008; 122(5): 1119-26.

Taya N. Effects of Supportive-Education Nursing System on Maternal Caregiving Behavior and Health outcome of Premature infants [Master of Nursing Science Thesis, Pediatric Nursing Faculty of Nursing]. Bangkok: Mahidol University; 2004. (in Thai)

Cohen J. Statistical power analysis for the behavior science. 2nd ed. New York: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Srisatidnarakul B. The Methodology in Nursing Research. Bangkok: U and I Intermedia; 2009. (in Thai)

Lally JR. Infant-toddler child care in the United States: Where has it been? Where is it now? Where is it going?. Int J Zero to Three 2003; 24: 29-34.