การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานเจาะเลือดและรับสิ่งส่งตรวจ ของสถาบันบำราศนราดูร ด้วย Lean Six Sigma

Main Article Content

นฤมล ทันประโยชน์
ถวัลย์ ฤกษ์งาม

บทคัดย่อ

      ปัญหาและความเสี่ยงในงานเจาะเลือดและรับสิ่งส่งตรวจ เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพการของห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ รวมถึงระยะเวลาในการรอคอย ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประยุกต์แนวคิดลีน (Lean) และ ซิกส์ซิกม่า (Six sigma) ในการพัฒนาคุณภาพ โดยนำหลักการ Define Measure Analyze Improve Control (DMAIC) มาใช้เป็นแนวทางการประเมินขั้นตอนการปฏิบัติงาน สามารถค้นหาปัญหาและความเสี่ยงที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งเก็บข้อมูลย้อนหลังเป็นระยะเวลา 1 ปี ประเมินคุณภาพโดยใช้ระดับ Six sigma จากการศึกษาพบว่า ปัญหา ข้อผิดพลาด และความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเจาะเลือดและการลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ มีระดับ Six sigma เฉลี่ยเท่ากับ 4.27 และ 4.19 ตามลำดับ หลังจากดำเนินการนำเครื่องมือ Lean Six sigma มาใช้ปรับปรุงระบบงาน โดยนำมาช่วยวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา วางแผนการปฏิบัติงาน เพื่อลดขั้นตอนที่ไม่เกิดประโยชน์ สร้างแนวทางการปฏิบัติงานและควบคุมการปฏิบัติงาน พบว่าการเจาะเลือดและลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ ปี 2562 มีระดับ Six sigma เพิ่มขึ้น เป็น 5.16 และ 5.21 ตามลำดับ และระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยเดิม 76.4 นาที ลดลงเหลือ 23.2 นาที เวลาลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) อีกทั้งร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ในระดับดี และ/หรือดีมาก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ในการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน (Lean) และซิกส์ซิกม่า (Six sigma) มีความเหมาะสม และช่วยพัฒนาคุณภาพงานเจาะเลือดและรับสิ่งส่งตรวจให้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
ทันประโยชน์ น., & ฤกษ์งาม ถ. (2024). การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานเจาะเลือดและรับสิ่งส่งตรวจ ของสถาบันบำราศนราดูร ด้วย Lean Six Sigma. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 18(2), 93–102. https://doi.org/10.14456/jbidi.2024.9
บท
บทความวิจัย

References

Shimoda K, Kubono K. [Update to ISO 15189: 2012, and future prospects]. Rinsho Byori. 2014; 62(6): 620-3.

Kubono K. Quality management system in the medical laboratory--ISO15189 and laboratory accreditation. Rinsho Byori Jpn J Clin Pathol 2004; 52(3): 274-8.

Mbah HA. Phlebotomy and quality in the African laboratory: opinion paper. Afr J Lab Med. 2014; 3(1): 1-4.

Downen J, Jaeger C. Quality improvement of intravenous to oral medication conversion using Lean Six Sigma methodologies. BMJ Open Qual. 2020; 9(1): e000804.

Ahmed S, Abd Manaf NH, Islam R. Effect of Lean Six Sigma on quality performance in Malaysian hospitals. Int J Health Care Qual Assur. 2018; 31(8): 973-87.