ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้พยาบาลต่อการค้นหาและจัดการ ผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต

Main Article Content

นิภาพรรณ โชติกาญจนเรือง
อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ
สุมลชาติ ดวงบุบผา

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research ) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้พยาบาลต่อการค้นหาและจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตใช้กรอบแนวคิดของบลูม และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทั่วไปแผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ โดยใช้วิธีเลือกคุณสมบัติแบบเจาะจง เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทั่วไป แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์จำนวน 65 ราย ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 และเวชระเบียนผู้ป่วยจำนวน 18 ราย ที่มีอาการเข้าเกณฑ์ SIRS criteria 2 ใน 4 ข้อ ร่วมกับสงสัยว่ามีการติดเชื้อรับไว้ดูแลรักษาต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง มกราคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม 5 ชุด คือ 1. แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2. แบบสอบถามความรู้ในการประเมินผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ 3. แบบสอบถามการจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อ 4.แบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติของพยาบาล และ 5. แบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ paired t-test และสถิตินอนพาราเมตริก Wilcoxon signed-rank test
      ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 23-45 ปี (ร้อยละ 98.5) ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมพบว่า พยาบาลมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ เท่ากับ 22.98 คะแนน (SD=2.92) และค่าคะแนนเฉลี่ยการจัดการเท่ากับ 41.62 คะแนน (SD=2.96) หลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้และคะแนนเฉลี่ยการจัดการมากกว่าก่อนเข้าโปรแกรม เท่ากับ 30.78 (SD=2.53) และ 47.15 (SD=1.73) ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) หลังเข้าร่วมโปรแกรมมีอัตราการรายงานแพทย์เมื่อ SOS Score > 4 คะแนน ร้อยละ 100 และมีการย้ายผู้ป่วยเข้า ICU ได้ภายใน 6 ชั่วโมง ในสัปดาห์ที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 75 และในสัปดาห์ที่ 8 ร้อยละ 100 โปรแกรมการให้ความรู้ในการค้นหาและจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต ช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการค้นหาและมีการจัดการได้อย่างเหมาะสม ควรมีการอบรมให้ความรู้ในการค้นหาและจัดการผู้ป่วยระยะแรกของภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตเป็นระยะ ๆ เนื่องจากความรู้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการดูแลที่ส่งผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยต่อผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ministry of public health. Public health statistics [internet]. 2019 [cited 2019 Sep 4]. Available from: https://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=964 (in Thai)

Champunot R, Tansuphaswasdikul S, Kamsawang N, Tuandoung P, Thimsri D. Application of Search Out Severity (SOS) score for identification of deteriorating patients in general wards. Buddhachinaraj medical journal 2016; 33(3): 313 - 25. (in Thai)

Jeffery AD. Knowledge and recognition of systemic inflammatory response syndrome and sepsis among pediatric nurses. Kentucky: Northern Kentucky University; 2011.

Thuamklad O, Janepanish P, Siripitiyakunkit A. Knowledge for detection and management in the early stage of septic shock patients and related factors among registered nurses in a university affiliated hospital. Rama Nurs J 2014; 20(2): 207-20. (in Thai)

Bloom BS. Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook I: Cognitive domain. New York: David Mckay; 1994.

Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach, Opal SM, et al. Surviving Sepsis Campaign: International guideline for management of severe sepsis and septic shock 2012. Crit Care Med 2013; 41(2): 580-37.

Gabriella N, Anna E, Naomi T, Chiara J, Pietro M. Physicians’ and nurses’ knowledge and attitudes in management of sepsis: An Italian study. Journal of Health and Social Sciences 2018; 3(1): 13-26.

Kaukonen K, Michael B, David P, Jamic D and Rinaldo B. Systemic Inflammatory Response syndrome Criteria in Defining Severe Sepsis. N Eng J Med 2015; 372(17): 1629 - 38.

Ozdemir et al. The Develment of Nurses’ Individualized Care Perceptions and Practices: Benner’s Novice to Expect Model Perspective. International Journal of Caring Sciences 2019; 12(2): 1279-85.

Stamataki P, Papazafiropoulou A, Kalaitzi S, Sarafis P, Kagialari M, Adamou E et al. Knowledge regarding assessment of sepsis among Greek nurses. Journal of Infection Prevention M 2013; 15(2): 58-63.

Beth M, Bridges E. Managing Sepsis and Septic shock: current Guidelines and definition. AJN 2014; 118(2): 34 - 9.