ความเครียดและภาวะหมดไฟจากการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

โสภิษตา ตันธนาธิป
เกษตรชัย และหีม
ปัจฉิมา บัวยอม
วีรยา ขวัญทอง
เฉลิมพล โอสถพรมมา

บทคัดย่อ

      สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลกระทบต่อประชากรทั่วโลกทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรง ส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดความเครียดและภาวะหมดไฟ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความเครียดและภาวะหมดไฟจากการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ในช่วงระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดและภาวะหมดไฟจากการทำงานในช่วงระบาดของโรค การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยแบบการศึกษาภาคตัดขวาง ในกลุ่มตัวอย่างบุคลากรของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 กรมควบคุมโรค ตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินความเครียดและภาวะหมดไฟ
     ผลการศึกษาพบว่าบุคลากรที่ลงนามยินยอมเข้าร่วม 158 คน เมื่อพิจารณาระดับความเครียดพบว่า ร้อยละ 18.4 มีระดับความเครียดสูง และร้อยละ 10.2 มีภาวะหมดไฟเป็นบางครั้ง และร้อยละ 2.5 มีภาวะหมดไฟเป็นประจำ จากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แต่ละปัจจัยพบว่าปัจจัยความเครียดและภาวะหมดไฟมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เท่ากับ 0.698 (p-value < 0.001) นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่าข้อคำถามความเครียด 5 ข้อของกรมสุขภาพจิตสามารถวัดความเครียดได้จริง และความเครียดมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟตามโมเดลเชิงโครงสร้าง (X2/df = 0.843, CFI = 1.000, TFI =1.003, RMSEA=0.010, SRMSR =0.001) โดยสรุปจากการศึกษาพบว่าความเครียดสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในบุคคลากรสาธารณสุข ซึ่งการตรวจพบความเครียดและภาวะหมดไฟจากการปฏิบัติงานได้ตั้งแต่ระยะต้นมีความสำคัญ เพื่อแก้ไขและป้องกันไม่ให้มีภาวะดังกล่าวอย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนาเข้าสู่โรคซึมเศร้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chen N, Zhou M, Dong X, Qu J, Gong F, Han Y, et al. Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: A descriptive study. Lancet 2020; 395(10223): 507-513. doi: 10.1016/S0140-6736(20)30211-7.

Zhang J, Wu W, Zhao X, Zhang W. Recommended psychological crisis intervention response to the 2019 novel coronavirus pneumonia outbreak in China: a model of West China Hospital. Precis Clin Med 2020; 3(1): 3–8. doi: 10.1093/pcmedi/pbaa006.

Armbruster D, Mueller A, Strobel A, Lesch KP, Brocke B, Kirschbaum C. Predicting cortisol stress responses in older individuals: influence of serotonin receptor 1A gene (HTR1A) and stressful life events. Horm Behav 2011; 60(1): 105‐111. doi: 10.1016/j.yhbeh.2011.03.010.

Bosma H, Peter R, Siegist J, Marmot M. Two alternative job stress models and the risk of coronary heart disease. Am J Public Health 1998; 88(1): 68-74. doi: 10.2105/ajph.88.1.68.

Yang L, Zhao Y, Wang Y, Liu L, Zhang X, Li B, et al. The Effects of Psychological Stress on Depression. Curr Neuropharmacol 2015; 13(4): 494‐504. doi: 10.2174/1570159x1304150831150507.

Koutsimani P, Montgomery A, Georganta K. The Relationship Between Burnout, Depression, and Anxiety: A Systematic Review and Meta-Analysis. Front Psychol 2019; 10: 284. doi: 10.3389/fpsyg.2019.00284

Shen HC, Cheng Y, Tsai PJ, Lee SH, Guo YL. Occupational stress in nurses in psychiatric institutions in Taiwan. J Occup Health 2005; 47(3): 218-225. doi: 10.1539/joh.47.218.

Raftopoulos V, Charalambous A, Talias M. The factors associated with the burnout syndrome and fatigue in Cypriot nurses: a census report. BMC Public Health 2012; 12: 457. doi: 10.1186/1471-2458-12-457.

Wang H, Liu Y, Hu K, et al. Healthcare workers' stress when caring for COVID-19 patients: An altruistic perspective. Nurs Ethics 2020; 27(7): 1490-1500. doi: 10.1177/0969733020934146.

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 10th ed. Wiley; 2013.

Department of mental health. Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team: MCATT COVID-19. [Internet]. 2020. [cited 2020 Mar 28]. Available from: https://www.dmh.go.th/covid19/pnews/files/MCATTupdate.pdf

Schermelleh-Engel K , Moosbrugger H, Müller H. Evaluating the Fit of Structural Equation Models: Tests of Significance and Descriptive Goodness-of-Fit Measures. [Internet]. 2003 [cited 2020 Oct 26]. Available from: www.stats.ox.ac.uk/~snijders/mpr_Schermelleh.pdf

Kim MH, Mazenga AC, Yu X, et al. Factors associated with burnout amongst healthcare workers providing HIV care in Malawi. PLoS One 2019; 14(9): e0222638. doi: 10.1371/journal.pone.0222638. eCollection 2019.

Kennedy T. The Path on the Road to Burnout. [Internet]. 2009. [cited 2020 Oct 29]. Available from: www.researchgate.net/publication/254362741_The_Path_on_the_Road_to_Burnout

Srisakul Cheaplamp, Pennapa Dangdomyout. Burnout Syndrome. Royal Thai Air Force Medical Gazette 2019; 65(2); 44-52. (in Thai)