ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมของคนไทยต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

Main Article Content

สุทัศน์ โชตนะพันธ์
อภิชาต วชิรพันธ์
กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์
ประวิช ตัญญสิทธิสุนทร

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนได้ (Modifiable behavioral risks) ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรไทย ผู้วิจัยทำการศึกษาแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มควบคุมที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์จำนวน 11 แห่ง โดยเริ่มศึกษาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 จนถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 รูปแบบการศึกษาใช้ case-control study เพื่อแสดงค่า odds ratio ของความเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่เพิ่งถูกวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดภายใน 1 เดือน จำนวน 955 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 997 คน ในช่วงอายุ 35-80 ปีโดยใช้แบบสอบถามประเมินพฤติกรรมเสี่ยงที่พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญและองค์การอนามัยโลกให้กลุ่มตัวอย่างตอบเองเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล


          ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางอายุและเศรษฐกิจสังคมมีความสัมพันธ์ต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความสัมพันธ์อย่างมากต่อการเป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด นอกจากนี้พบว่าพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ รวมถึงการขาดกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และการรับประทานอาหารมันต่างสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของการดื่มแอลกอฮอล์ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงสรุปได้ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทั้งทางประวัติครอบครัว และปัจจัยทางด้านพฤติกรรม ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงควรเลิกสูบบุหรี่ ควบคุมการรับประทานอาหารมัน และหมั่นออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

Article Details

How to Cite
โชตนะพันธ์ ส., วชิรพันธ์ อ., จำรูญสวัสดิ์ ก., & ตัญญสิทธิสุนทร ป. (2023). ปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมของคนไทยต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 17(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/jbidi.2023.1
บท
บทความวิจัย

References

Wongwannatakul W, Suriyawongpisan W, Thummarungsee T. Report on NCDs situation: health and social crisis [Internet]. 2014 [cited 2016 April 30]. Available from: http://ihppthaigov.net/DB/publication/attachbook/165/chapter1.pdf. (in Thai)

The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage. Thai Clinical Practice Guidelines 2014. Bangkok: The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage; 2014. (in Thai)

Tonghong A. Situation report on NCDs. Bangkok: Bureau of Epidemiology Department of Diseases Control MOPH; 2013. (in Thai)

National Health Security Office. Report on Universal Health Insurance Scheme 2012. Nontaburi: Sahamitr Printing Co, LTD; 2012. 184 p. (in Thai)

Bureau of Non-communicable Diseases. Annual Report 2556: Bangkok; 2013. (in Thai)

OrnwanrayaPummisrikeaw. Risk factors of ischemic heart diseases and diabetic. Nursing, Health, Education Journal Udontani 2012. (in Thai)

Sampaukin N, Chartprasert D. Influence of risk communication on NCDs health behavioral. Journal of Public Relations and Advertising 2014; 7(2): 38-67. (in Thai)

Jalayondeja W. Hyperion and Physical exercise [internet]. 2008 [cited 2016 April 30]. Available from: http://www.doctor.or.th/article/detail/5833. (in Thai)

Fleming MF, Barry KL, MacDonald R. The alcohol use disorders identification test (AUDIT) in a college sample. Int J Addict. 1991 Nov; 26(11): 1173-85. doi: 10.3109/10826089109062153.

Claussen B, Aasland OG. The Alcohol Use Disorders Identification Test (AUDIT) in a routine health examination of long-term unemployed. Addiction. 1993 Mar;88(3):363-8. doi: 10.1111/j.1360-0443.1993.tb00823.x.

Heatherton TF, Kozlowski LT, Frecker RC, Fagerström KO. The Fagerström Test for Nicotine Dependence: a revision of the Fagerström Tolerance Questionnaire. Br J Addict. 1991 Sep; 86(9): 1119-27. doi: 10.1111/j.1360-0443.1991.tb01879.x.

Bull FC, Maslin TS, Armstrong T. Global physical activity questionnaire (GPAQ): nine country reliability and validity study. J Phys Act Health. 2009 Nov; 6(6): 790-804. doi: 10.1123/jpah.6.6.790.

Fagerstrom K. Commentary on Baker et al. (2012): Assessing dependence-are specific criteria for nicotine enough or do we need to consider its forms of administration? Addiction. 2012 Feb; 107(2): 276-7. doi: 10.1111/j.1360-0443.2011.03735.x.

Pender NJ, Walker SN, Sechrist KR, Frank-Stromborg M. Predicting health-promoting lifestyles in the workplace. Nurs Res. 1990 Nov-Dec; 39(6): 326-32.

Chronic diseases surveillance report [Internet]. Bureau of Epidemiology, Department of Diseases Control, Thailand. 2012. Available from: http://www.boe.moph.go.th/files/report/20140109_40197220.pdf. (in Thai)

Mendis, Shanthi. Global status report on noncommunicable diseases 2014: "Attaining the nine global noncommunicable diseases targets; a shared responsibility" [Internet]. 2014 [cited 2016 April 30]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/148114/1/9789241564854_eng.pdf.

E Lyon D, Mohanraj L, Kelly DL, Elswick R Jr. Health Promoting Life-Style Behaviors and Systemic Inflamma-tion in African American and Caucasian Women Prior to Chemo-therapy for Breast Cancer. Health Promot Perspect. 2014 Jul 12; 4(1): 18-26. doi: 10.5681/hpp.2014.003.