ความต้องการจำเป็นในการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อ สถาบันบำราศนราดูร

Main Article Content

Niorn Ariyothai

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็น ความคาดหวัง และการนำความรู้ไปพัฒนางานควบคุมโรคติดเชื้อ (Infection Control: IC) ของพยาบาลวิชาชีพที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อ ณ สถาบันบำราศนราดูร ระหว่างปี 2559-2560 เก็บรวบรวมข้อมูลจากใบสมัครอบรมซึ่งเป็นคำถามปลายเปิด จำนวน 92 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพผู้สมัคร มีอายุเฉลี่ย 40.23 ปี รับราชการร้อยละ 75 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนร้อยละ 44.6  มีประสบการณ์ด้านพยาบาลเฉลี่ย 18.37 ปี เป็นระดับผู้ปฏิบัติงานร้อยละ 70.7  ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยในร้อยละ 27.2  โดยก่อนเข้ารับการอบรมร้อยละ 82.6 ปฏิบัติงาน IC โดยเฉลี่ย 4.97 ปี และเป็นทั้งพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและประจำหอผู้ป่วยด้วยร้อยละ 30.3 จากการศึกษา พบว่า พยาบาลวิชาชีพ 1) มีความต้องการจำเป็นในระดับบุคคลมากที่สุด โดยเฉพาะการเพิ่มความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริงร้อยละ 70.7 และได้รับมอบหมายปฏิบัติงาน IC แต่ไม่เคยอบรมหลักสูตรเฉพาะทางฯ ร้อยละ 23.9 ในขณะที่ความต้องการจำเป็นระดับองค์กร พบว่า หน่วยงานส่วนใหญ่ไม่มีพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและประจำหอผู้ป่วย ที่จบหลักสูตรเฉพาะทางฯ ตามที่สภาการพยาบาล/การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลกำหนดร้อยละ 30.4 รวมทั้งผู้บริหารให้ความสำคัญ เป็นนโยบายของหน่วยงาน ร้อยละ 17.4  2) มีความคาดหวังต่อหลักสูตรว่า เมื่อรับการอบรมจะสามารถบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลด้าน IC ให้ครอบคลุมต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ เครือข่าย และชุมชนได้ร้อยละ 55.4  ได้รับความรู้ที่ทันสมัย มีประสบการณ์ แนวคิด และทัศนคติด้าน IC เพิ่มขึ้น ร้อยละ 51.1 เข้าใจกระบวนการทำงานและมีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานมากขึ้นร้อยละ 48.9 และ 3) การนำความรู้ไปพัฒนางาน IC มุ่งเน้นด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ลดอุบัติการณ์การติดเชื้อของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ร้อยละ 54.3  รวมทั้งบริหารจัดการคุณภาพระบบงาน IC ของโรงพยาบาลและเครือข่าย ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชุมชนร้อยละ 54.3 เท่ากัน


          ทั้งนี้ผู้จัดการหลักสูตรฯ ควรมีการประเมินความต้องการระหว่างการอบรมด้วย เพื่อปรับเนื้อหา เพิ่มทักษะให้ตรงกับความต้องการของผู้อบรมมากที่สุด และสามารถกลับไปปฏิบัติงานได้จริง อีกทั้งหน่วยงานควรวางแผนพัฒนาบุคลากรด้าน IC ให้ได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพพยาบาล

Article Details

How to Cite
Ariyothai, N. (2021). ความต้องการจำเป็นในการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อและการป้องกันการติดเชื้อ สถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 15(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/jbidi.2021.5
บท
บทความวิจัย

References

Infectious Disease Control in hospital Program (2017 – 2021). Nontha Buri: Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute; n.d. (in Thai)

Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, Boromarajonani College of Nursing, Nontha Buri. Program of nursing specialty in nursing care of patients with infectious diseases and infection prevention of registered nurses. Nontha Buri; Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute; 2015. (in Thai)

National Infection Control Committee. Infectious Disease Prevention and Control Master Plan (2017 – 2021). Nontha Buri: Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute; 2017. (in Thai)

Niyomwit K, Prachusilpa G. Competency of Infectious Control Ward Nurse. Journal of The Police Nurse 2015; 7(1): 153-65. (in Thai)

Malatham K, Apivanich S. Infectious Diseases in hospital [internet]. [cited 2020 may 10]. Available from: http://med.mahidol.ac.th/ ic/sites/default/files/public/pdf/IC%20book.pdf (in Thai)

Thianthong A, Punthai B. An Evaluation of a Specialized Nursing Program in the Field of Infection Control Nursing at Ramathibodi Nursing School. Silpakorn Educational Research Journal 2014; 6(2): 259-71. (in Thai)

Sutthathip S, Kankao P, Jarapach R, Lamlak P, Suwanwong R, Pongjaruskasem TP.Training needs of Public Health staff in Primary Care Unit, Ministry of Public Health. Thai Dental Nurse Journal 2011; 22(1): 24-39. (in Thai)

Boonrubpayap B, Pantaewan P, Prasittivatechakool A, Pumsanguan K, Sanee, Prajankett O. The evaluation of the program in nursing specialty in nurse practitioner (Primary Medical Care), The Royal Thai Army Nursing College. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014; 15 (1): 107-13. (in Thai)

Prewnim A. The Curriculum Evaluation of Bachelor of Nursing Science Program, BangkokThonburi University in Accordance with the Standard Criteria of National Higher Education with CIPPI Model. Journal of Nursing and Health Suan Sunandha Rajabhat University 2018; 1 (2): 90-109. (in Thai)

Kasai P, Phansaita N. The needs of training and development and career planning of Dusit Thani College’s Instructors. Dusit Thani College Journal 2016; 10(2): 77-92. (in Thai)

Jinnatanapong C. The relationship between training need for teacher and career path development of private school in Bangplad District Bangkok [dissertation]. Bangkok: Silpakorn University; 2011. (in Thai)

Danchaiwichit S, Sirikawin S, Tuntanatip P, Naksawad K, editors. Practical guide for the

prevention and control of infectious diseases in hospital. Nontha Buri; Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute; 2007. p.7-8. (in Thai)

Wongkumma A, Tangkanakul W, Areechokchai D, Chobkatanyu A, Sawanpunyalert N. Assessment of Thailand’s surveillance, investigation and control core capacities complies with International Health Regulations (IHR), 2005. WESR 2013; 44 (35) : 545-52. (in Thai)