การสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Main Article Content

ธิฏิรัตน์ พิมลศรี

บทคัดย่อ

                     สุขภาวะองค์กรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนขององค์กร เนื่องจากการที่บุคลากรมีสุขภาวะองค์กรที่ดี จะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาสุขภาวะองค์กรจาก ระดับความสุข 9 มิติ ได้แก่ 1) สุขภาพกายดี (Happy Body) 2) ผ่อนคลายดี (Happy Relax) 3) น้ำใจดี (Happy Heart) 4) จิตวิญญาณดี (Happy Soul)  5) ครอบครัวดี (Happy Family) 6) สังคมดี (Happy Society)  7) ใฝ่รู้ดี  (Happy Brain)  8) สุขภาพการเงินดี (Happy Money)  9) การงานดี (Happy Work Life) รวมถึงระดับความผูกพัน (Engagement) และความสมดุลชีวิตกับการงาน (Work life balance) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการด้านบุคลากรที่ก่อให้เกิดการเพิ่มระดับความสุข และความผูกพันของบุคลากรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ งานวิจัยนี้จึงมีการศึกษาระดับความสุขของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการ เพื่อให้สามารถพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่อยู่ในแผนปฏิบัติการได้อย่างเหมาะสม โดยเน้นที่โครงการหรือกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยมีศักยภาพในการดำเนินการต่อได้แม้โครงการวิจัยนี้สิ้นสุดไปแล้ว ดังนั้นคณะทำงานจึงได้มีการทำการวิเคราะห์โครงการโดยใช้หลักการ SWOT analysis หลังจากนั้นจึงดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ได้ข้อสรุปจากการวิเคราะห์โครงการ ซึ่งผลการดำเนินงาน พบว่า คณะทำงานได้แผนปฏิบัติการ มีทั้งสิ้น 4 แผน ประกอบด้วย 11 โครงการหรือกิจกรรม ที่ครอบคลุมความสุข 6 มิติ ได้แก่ 1) สุขภาพกายดี 2) ผ่อนคลายดี  3) สังคมดี 4) ใฝ่รู้ดี 5) สุขภาพการเงินดี และ 6) การงานดี รวมถึงความผูกพัน ความสมดุลชีวิตกับการทำงาน โดยที่แผนปฏิบัติการดังกล่าวนี้มีผลทำให้เพิ่มระดับความสุขของบุคลากร และเป็นข้อเสนอแนะด้านโครงการหรือกิจกรรมให้กับฝ่ายทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยต่อไป

Article Details

How to Cite
พิมลศรี ธ. (2021). การสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 15(2), 118–128. https://doi.org/10.14456/jbidi.2021.11
บท
บทความวิจัย

References

Cynthia D. Fisher. Happiness at work. International Journal of management reviews. 2010; 12: 384-412.

Burton J. WHO Healthy Workplace Framework and Model:Background and Supporting Literature and Practices [Internet] 2010 [cited 2018 Jan 8]. Available from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/113144/9789241500241_eng.pdf?sequence=1

Thummakul D, Kaeodumkoeng K, Prasertsin U. The Development of Healthy Organization Index. Journal of Health Science Research 2011; 5(2): 8-19. (in Thai)

Thummakul D, Kaeodumkoeng K, Prasertsin U. Development of an Operational Training Program for the Creatoin of a Healthy Happy Workplace by MapHR. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima 2014; 20(1): 15-29. (in Thai)

Luekitinan W. The Happy Workplace Practices in Multinational Companies: Case Study of Manufacturing Firms in Eastern Region. Journal of Management Sciences. 2014; 31(1): 1-15. (in Thai)

Sirinan K, et al. Happinometer: The Happiness Self Assessment. 1st ed. Nakornprathom Province: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. 2012. (in Thai)