ปัจจัยและประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

รัศมี สุขนรินทร์

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง ประชากร คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก 152,935 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 343 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  


               ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 65-69 ปี จบชั้นประถมศึกษา รายได้น้อยกว่า 1,000 บาท/เดือน สถานภาพสมรสคู่ มีโรคประจำตัว และรับการรักษาสม่ำเสมอ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 35.3 ปัจจัยย่อยด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร และการจัดการกับอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคมภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.5 ปัจจัยย่อยด้านการจัดกิจกรรม การให้คำปรึกษาการดูแล และการสนับสนุนผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง ดัชนีความมีพฤฒพลังของผู้สูงอายุภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับระดับต่ำ ร้อยละ 66.8 เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 59.2 ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง 49.9 และด้านความมั่นคงอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 100 ทั้งนี้ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคม มีความสัมพันธ์กับระดับพฤฒพลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า มีการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงความเครียด ใช้หลักพระพุทธศาสนาพัฒนาจิตใจ หมั่นคัดกรองสุขภาพ และปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับโรค เตรียมด้านความมั่นคงด้วยการออม ลดฟุ่มเฟือย ลดหนี้สิน ปรับบ้านให้เอื้อต่อการเป็นผู้สูงอายุ และเตรียมด้านการมีส่วนร่วมโดยเข้าร่วมกิจกรรมครอบครัวและชุมชน พบปะเพื่อนฝูง และติดต่อกันด้วยโลกออนไลน์


                การวิจัยนี้แสดงให้เห็นวิธีปฏิบัติตนเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง นำไปสู่การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ดังนั้น ผู้สูงอายุและหน่วยงานเกี่ยวข้อง ควรวางแผนการดูแลด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ การสร้างความมั่นคงในชีวิตทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม วางแผน ส่งเสริม ให้ประชากรวัยผู้ใหญ่เตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ดังคำกล่าวที่ว่า “แก่อย่างมีค่า ชราอย่างมีศักดิ์ศรี” อันจะส่งผลให้สังคมลดการใช้งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต

Article Details

How to Cite
สุขนรินทร์ ร. (2021). ปัจจัยและประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลัง จังหวัดพิษณุโลก . วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 15(2), 106–117. https://doi.org/10.14456/jbidi.2021.10
บท
บทความวิจัย
Author Biography

รัศมี สุขนรินทร์, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

ดร.รัศมี  สุขนรินทร์

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพการศึกษา

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก

การศึกษา

ประกาศนียบัตรการพยาบาลและผดุงครรภ์ 

พยาบาลศาสตรบัณฑิต

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)

สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต

งานวิจัย

รัศมี สุขนรินทร์ และ กฤษฎนัย ศรีใจ. (2562). ผลของชุดนวัตกรรมทับหม้อเกลือด้วยตนเองในหญิงหลังคลอด. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2562).

รัศมี สุขนรินทร์. (2562).  ความหมายและประสบการณ์การเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิพลัง. การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ.2562 “ศาสตร์พระราชาสู่การวิจัยและนวัตกรรม” .

รัศมี สุขนรินทร์ และคณะ. (2561).  การวิเคราะห์องค์ประกอบของแบบวัดความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรมสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 หน้า 79-91 (เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2561).

รัศมี สุขนรินทร์ และ ชลชิด คำพันธ์. (2560). การสร้างและพัฒนานวัตกรรมทับหม้อเกลือด้วยตนเองของหญิงหลังคลอด. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 1. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

รัศมี สุขนรินทร์ และ ฉัตรชัยกานท์ สุขนรินทร์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒิ-พลัง. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่มิติใหม่: การบริการสุขภาพปฐมภูมิไทย. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

Rassamee Suknarin and et al. (2017). The experience and meaning of mind happiness aging in the Buddhist context. Journal of international Buddhist studies. 8 (1) p.23-43.

วนัสรา เชาวน์นิยม กุหลาบ รัตนสัจธรรม พิสมัย เสรีขจรกิจเจริญ และ รัศมี สุขนรินทร์. (2559). แนวทางกลไกการขับเคลื่อนตามแนวคิดปรัชญาตะวันออกในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบูรณาการพหุปัญญในอนาคตโดยใช้เทคนิตเดลฟาย.  ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

 

References

United Nations. World population aging 2009 [Internet]. 2009. [cited 2015 Aug 5]. Available from: http://esa.un.org/wpp/sources/country.aspx

National Statistical Office. Survey of the Elderly Population in Thailand 2014 [Internet]. 2014. [cited 2015 Aug 5]. Available from: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/older57.pdf. (in Thai)

World Health Organization. Ageing and life course [Internet]. 2012. [cited 2013 Jan 12]. Available from: http://www.who.int/ageing/active_ageing/en/index.html.

Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Aging Population [Internet]. 2013. [cited 2013 Feb 2]. Available from: http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/Research%20Group%206/Research%20Group%206-2.html. (in Thai)

Paorohit W. Living Longer: Living as Active Ageing. Royal Thai Air Force Medical Gazette 2011; 57(2): 5. (in Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). Situation of the Thai Elderly 2013 [Internet]. 2016. [cited 2018 Feb 22]. Available from: https://thaitgri.org/?p=37134. (in Thai)

National Health Security Office (NHSO). Health expenditure [Internet]. 2014. [cited 2018 May 15]. Available from: http://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/Download/2013-.pdf. (in Thai)

National Statistical Thailand. Active Ageing Index of Thai Elderly [Internet]. 2017. [cited 2020 May 16]. Available from: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/A2.asp (in Thai)

Daniel WW. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. 6th ed. United Stated America: John Wiley & Sons; 1995

Soothorndhada K and Kamsuwan K. Levels and Trends of Active Aging Index of Thai Elderly. National Population Conference; 2010 Nov 25-26; Bangkok, Thailand; 2010. p.26-38. (in Thai)

Chansarn, S. The Role of Family in Enhancing the Active Ageing of Elderly People: An Empirical Evidence from Thailand. In the ISA Research Committee on Family Research International Seminar on Reconstruction of Intimate and Public Spheres in a Global Perspective, Kyoto Japan. 2011 September 12-15; 2011.

Laophatcharakul F. Senility retard trick. 1st ed. Bangkok: Dhamma Lila book; 2009. (in Thai)

Ratanaubon A, et al. Status, problem, requirement, non-formal education activity format and informal education for encouraging elderly labor preparation study. Bangkok: Chulalongkorn University; 2009. (in Thai)

Sangprajaksakul S. Elderly Maturity: level, tendency, and Variable [Dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2014. (in Thai)

Othakhanon P. Thai elderly’s perfect life principle, research, and lesson from experience. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2011. (in Thai)

Suknarin R. The Development of Mind Happiness Measurement in Buddhist Context for Aging Group [Dissertation]. Chonburi: Burapha University; 2018. (in Thai)

Ponethong A. Active aging preparation manual. Bangkok: Amarin Printing press; 2011. (in Thai)

Supawong Ch, Kadkarnkrai Y. DoctorChek Thanasiri, who set life program for 120 years, Special Interview [Internet]. 2013. [cited 2013 Jan 7]. Available from: http://advisor.anamai.moph.go.th/202/20211.html. (in Thai)

Siripanich B. The elderly control the city [Internet]. 2013. [cited 2013 Feb 2]. Available from: http://www.thetruemate.com/index.php?lay=show&ac=article&Id. (in Thai)

Sukpaiboonwat S. The role of population aging on economic growth in Thailand. Srinakharinwirot Research and Development Journal of Humanities and Social Sciences 2017; 9(17): 176-191. (in Thai)