บทความการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโรคแบคทีเรียกินเนื้อ (Necrotizing fasciitis)
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ (necrotizing fasciitis) หมายถึงภาวะที่เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแบบรุนแรงและรวดเร็วของชั้นผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนัง ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวจะทำให้เกิดการตายของชั้นผิวหนังและชั้นเนื้อเยื่อส่วนที่ลึกลงไป เช่น เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องจะก่อให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง หากมีการกระจายในเนื้อเยื่อมากๆจะทำให้เกิดพิษต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคนั้นเกิดจากแบคทีเรียได้หลายชนิด ซึ่งแบคทีเรียบางชนิดเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อที่พบได้ในคนอยู่แล้ว เช่น เชื้อแบคทีเรียชนิด กรุ๊ปเอ สเตรปโตคอคคัส(Group A beta-hemolytic streptococcus) ซึ่งทำให้เกิดโรคคออักเสบ แต่เมื่อเกิดการติดเชื้อในชั้นเนื้อเยื่อผิวหนังจะเกิดแผลพุพอง และหากรุนแรงก่อจะก่อให้เกิดการเน่าตายของชั้นผิวหนังที่เรียกว่า gas gangrene ซึ่งส่วนใหญ่มีความรุนแรง และสามารถทำผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โรคแบคทีเรียกินเนื้อนี้สามารถเกิดได้เมื่อแผลติดเชื้อจากแบคทีเรีย เช่น เมื่อมีบาดแผลจากการโดนแมลงกัด ถูกความร้อนเผาไหม้ บางครั้งการได้รับบาดแผลเล็กๆจากการสัมผัสพวกสัตว์ทะเล เช่นปู การผ่าตัด หรือเพียงแผลฟกช้ำ ก็สามารถก่อให้เกิดโรคแบคทีเรียกินเนื้อได้
Article Details
References
2. Kujath P, Eckmann C, Hoch J. Necrotizing fasciitis-epidemiology-diagnosis and therapeutic approach. Zentralbl Chir 1996; 121 (Suppl): 47-8.
3. Varma R, Stashower ME. Necrotizing fasciitis: delay in diagnosis results in loss of limb. Int J Dermatol 2006; 45(10): 1222-3.
4. Goh T, et al. Early diagnosis of necrotizing fasciitis. Br J Surg 2014; 101(1): e119-25.
5. Hunter J, et al. Diagnosis and management of necrotizing fasciitis. Br J Hosp Med 2011; 72(7): 391-5.
6. Stoneback JW, Hak DJ. Diagnosis and management of necrotizing fasciitis. Orthopedics 2011; 34(3): 196.
7. Miller JD. The importance of early diagnosis and surgical treatment of necrotizing fasciitis. Surg Gynecol Obstet 1983; 157(3): 197-200.
8. Sun X, Xie T. Management of Necrotizing Fasciitis and Its Surgical Aspects. Int J Low Extrem Wounds 2015; 14(4): 328-34.
9. Stevens DL, et al. Practice guidelines for the diagnosis and management of skin and soft tissue infections: 2014 update by the Infectious Diseases Society of America. Clin Infect Dis 2014; 59(2): e10-52.
10. Bilton BD, et al. Aggressive surgical management of necrotizing fasciitis serves to decrease mortality: a retrospective study. Am Surg 1998; 64(5): 397-400.
11. Bock KH. Diagnosis and therapy of necrotizing fasciitis. Hyperbaric oxygenation as a supplemental therapy form. Dtsch Med Wochenschr 1996; 121(4): 116-7.
12. Taviloglu K, Yanar H. Necrotizing fasciitis: strategies for diagnosis and management. World J Emerg Surg 2007; 2: 19.