การพยาบาลผู้ป่วยมีการติดเชื้อแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดกระดูกต้นขา : กรณีศึกษา 2 ราย

Main Article Content

นาตยา ปริกัมศีล

บทคัดย่อ

          กระดูกต้นขาหักเป็นภยันตรายที่พบได้มากในสภาวการณ์ปัจจุบัน ของผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ มักเกิดจากอุบัติเหตุที่มี่ความรุนแรง ประมาณร้อยละ 50-60 ของผู้ป่วยประเภทนี้จะมีการบาดเจ็บที่ตำแหน่งอื่นร่วมด้วย จากข้อมูลในหน่วยงานศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลโพธาราม ตั้งแต่ ปี 2558 -2560 มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสาเหตุการสูญเสียด้านเศรษฐกิจ หลงเหลือความพิการ และต้องนอนโรงพยาบาลนาน เสียภาพลักษณ์ ดังนั้นพยาบาลจึงจำเป็นต้องวางแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเฉพาะในระยะที่มีการติดเชื้อเฉียบพลันการประเมินและดูแลผู้ป่วยอย่างรวดเร็วสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการติดเชื้อ ลดความพิการ ซึ่งปัจจุบันแนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ถูกละเลยการเฝ้าระวัง


          วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล และการพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกหักต้นขาหักที่พบภาวะการติดเชื้อร่วมด้วย และประเมินการดูแลผู้ป่วยได้หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล


          กรณีศึกษา ผู้ป่วย 2 รายที่รับไว้ดูแลในหอผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุต้นขาหักและได้รับการผ่าตัดเกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถประเมินผู้ป่วยได้รวดเร็วและได้รับความปลอดภัย โดยใช้รูปแบบการดูแลและการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยการดูแลที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกหักตั้งแต่แรกรับไว้ในการดูแลในหอผู้ป่วยจนถึงจำหน่าย ซึ่งพบว่ากรณีศึกษาทั้ง 2 cases มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นสัมพันธ์ และไม่สัมพันธ์กับการผ่าตัด ผู้ป่วยปลอดภัยการติดตามการตรวจรักษา หลังจำหน่วย และได้แนวทางในการประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างของผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. คณาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือการใช้ยาสำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 6. เชียงใหม่: กราฟิค ซิสเท็มส์; 2535.

2. เพ็ญจันทร์ สุวรรณแสง โมไนยพงศ์. การวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มิตรเจริญการพิมพ์; 2535.

3. ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. การอบรมฟื้นฟูวิชาการพยาบาลออร์โธปิดิคส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547.

4. นันทา เล็กสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

5. ศิริพร ปิติมานะอารี. การประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ตำราวิสัญญีวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2556.

6. สมชัย ปรีชากุล, วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท, วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ. ออร์โธปิดิคส์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.

7. สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจโรคทั่วไป 2. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2548.

8. สุปราณี เสนาดิศัย. การพยาบาลพื้นฐานแนวคิดและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: อุดมทอง; 2545.

9. อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานการพยาบาล. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา (ทั่วไป) ของมนุษย์ 1. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

10. สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. Anatomy for students [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2556]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bloggang.com

11. Drake RL, Vogl W, Mitchell AWM. Gray's anatomy for students. 2nd ed. London: Churchill Livingstone; 2009.

12. Mitchell AWM, et al. Principles and Practice of Infectious Disease. 6th ed. London: Elsevier Churchill Livingstone; 2005.

13. Siamhealth.net. การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกหัก [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2556].เข้าถึงได้จาก: http://www.siamhealth. net/public_html/Disease/GI/hernia/hernia.htm.

14. Robert SM. sepsis and septic shock. In: Braunwald E, Fauci AS, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Jameson L, editors. Harrison’s Principles of Internal Medicine. 15th ed. New Yok: McGrawHill; 2001.