การพยาบาลผู้ป่วยแพ้ยาอย่างรุนแรง(Toxic Epidermal Necrolysis :TEN)

Main Article Content

ปิยะวดี ฉาไธสง

บทคัดย่อ

          ภาวะหรือโรค หรือกลุ่มอาการ สะตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome หรือ เรียกย่อว่าโรค SJS) คือ ภาวะที่ปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกายตอบสนองผิด ปกติต่อสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายหรือต่อการเจ็บป่วยต่างๆที่พบบ่อยเช่น จากยา เชื้อโรค และจากโรคมะเร็ง ซึ่งเรียกภาวะนี้ตามชื่อของผู้รายงานภาวะนี้ครั้งแรกเมื่อปี 1922 คือกุมารแพทย์ชาวอเมริกัน A.M. Steven และ S.G. Johnson โดยพบเด็กมีอาการไข้ มีแผลเต็มปาก ตาอักเสบ และมีผื่นตามตัว ภาวะสะตีเวนส์ จอห์นสันและภาวะแพ้ยาที่ก่ออาการต่อผิวหนังและต่อเยื่อเมือกบุอวัยวะภายในต่างๆอย่างรุนแรงที่เรียกว่า Toxic epidermal necrolysis หรือเรียกย่อว่า TEN คือภาวะเดียวกันแต่มีความรุนแรงต่างกัน โดย TEN เป็นภาวะที่รุนแรงกว่ามาก โดยผู้ป่วยจากภาวะ TEN พบเกิดได้น้อยกว่า แต่ที่มีความสำคัญคือ มีโอกาสเสียชีวิตได้สูงกว่าอนึ่ง แพทย์ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าผู้ป่วยคนใดจะเกิดภาวะสะตีเวนส์จอห์นสันและ/หรือภาวะ TEN แต่ที่แน่ชัดคือภาวะทั้งสองนี้มีโอกาสเกิดเป็นซ้ำได้เสมออุบัติการณ์ของภาวะสะตีเวนส์จอห์นสันพบได้ประมาณ 2.6 - 7.1 รายต่อประชากร 1 ล้าน คน ส่วนภาวะ TEN พบได้ประมาณ 0.4 - 1.9 รายต่อประชากร 1 ล้านคน ทั้งสองภาวะเกิดได้ในทุกเชื้อชาติ แต่มีรายงานพบในชาวตะวันตกมากกว่า เพศหญิงพบบ่อยกว่าเพศชายในสัดส่วนประมาณ 2:1 พบได้ทุกวัยตั้งแต่ทารกจนถึงผู้สูงอายุ แต่ช่วงอายุที่พบได้มากสุดคือ 20 - 40 ปี ที่น่าสนใจคือภาวะทั้งสองนี้ไม่ได้พบแต่เฉพาะในคน มีรายงานว่าเกิดได้ในหมา แมว และลิงด้วย อนึ่งอัตราตายของภาวะสะตีเวนส์จอห์นสันประมาณ 1 - 5% แต่ถ้าเป็นภาวะ TEN จะมีอัตราตายประมาณ 25 - 35%(สลิล ศิริอุดมภาส(2558)&ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพในเครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด(มหาชน)(2557))


          จากประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้ยาอย่างรุนแรง(Toxic Epidermal Necrolysis:TEN)จะมีปัญหาการดูแลแผลจากผิวหนังที่หลุดลอก ให้ดูแลแบบผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้คือ การทำแผลที่ผิวหนัง แต่ให้หลีกเลี่ยงยาทาที่มี Sulfonamide เป็นส่วนผสมเช่น Silver sulfadiazine เพราะอาจเกิดการแพ้ยาได้ การให้ยาแก้ปวดลดความปวดที่แผล (ต้องระวังการแพ้ยาเช่นกัน) การเฝ้าระวังการติดเชื้อ การปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นเหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกายทางแผลผิวหนัง การให้น้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอโดยอาจให้ทางหลอดเลือดดำ และพิจารณาให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักในรายที่ไม่เคยได้รับมาก่อน หากรับประทานอาหารไม่ได้ อาจใส่สายให้อาหารผ่านทางจมูกเข้าสู่กระเพาะอาหารเพื่อเป็นการให้อาหารได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย แต่ถ้าเยื่อเมือกบุจมูกและเยื่อเมือกบุหลอดอาหารมีแผลก็จำเป็นต้องให้สารอาหารทางหลอดเลือดแทน   แผลในปากให้ทำความสะอาดด้วยน้ำยาบ้วนปากและทายาที่ให้ความชุ่มชื้น เช่น Glycerin และอาจใช้ชนิดที่มียาชาผสมเพื่อลดอาการเจ็บปวด(สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล ( ประเทศไทย )(2552))ซึ่งผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษารายกรณีของผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้ยาอย่างรุนแรง(Toxic Epidermal Necrolysis :TEN)ในบริบทของสถาบันบำราศนราดูร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Harries A, Maher D, Uplekar M. TB A Clinical Manual for South East Asia. WHO; 1997.

2. WHO. Treatment of Tuberculosis: Guidelines for National Programmes 3rd ed. n.p.: 2003.

3. American Thoracic Society, CDC, Infectious Disease Society of America. Treatment of Tuberculosis. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine 2003; 167: 603-62.

4.กลุ่มวัณโรค สำนักงานโรคเอดส์ วัณโรค, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.: 2548.

5.ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพในเครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด. กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน Stevens Johnson Syndrome [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkokhealth.com

6.ศูนย์ติดตามอาการอันไม่พึงประสงคจ์ากการใช้ยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวง สาธารณสุข. Spontaneous Report of Adverse Drug Reactions. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา; 2540.

7.สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล ( ประเทศไทย ). ตรงประเด็น เรื่อง Adverse Drug Reaction เล่ม2 การประเมินผื่นแพ้ยา. พิมพค์ร้ังที่ 4. กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์; 2552.

8. สลิลิ ศิริอุดมภาส. สตีเวนส์จอห์สัน (Stevens-Johnson syndrome) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://haamor.com/th/stevens-johnson/